หลายคนอาจมีปัญหาพูดไม่ชัด เคี้ยวข้าวไม่ถนัด ต่อให้เคี้ยวข้าวได้แต่ก็มีปัญหาในเรื่องการทำความสะอาดที่ยากกว่าคนอื่น ๆ อาจเกิดมาจากปัญหาฟันไม่สบหรือฟันสบเปิด และหากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีปัญหาดังกล่าวและต้องการรักษาปัญหาอย่างจริงจัง อาจจะอยากรู้ว่าฟันไม่สบกัน จัดฟันได้ไหม ต้องดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง วันนี้หมอณัฐจะมาเล่าให้ฟังค่ะ
ฟันไม่สบกันคืออะไร
เป็นภาวะความผิดปกติที่มีผลทำให้การสบฟันไม่เป็นไปตามธรรมชาติ เมื่อคุณกัดฟันแล้วจะพบว่ามีช่องว่างระหว่างฟันบนและฟันล่าง ตัวฟันไม่แตะกันสนิท โดยภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับฟันหน้าและฟันกรามก็ได้เช่นกันค่ะ การสบฟันผิดปกติหรือสบฟันเปิดมีผลต่อการใช้ชีวิตสำหรับใครหลายคน เนื่องจากมีผลต่อการบดเคี้ยวอาหารและการออกเสียงที่ยากขึ้น หากปล่อยไว้นานอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ เช่น ฟันผุ เหงือกอักเสบ โรคปริทันต์ นอกจากปัญหาฟันแล้วยังลามไปถึงระบบอื่น ๆ ในร่างกายได้อีกด้วยค่ะ ยกตัวอย่างเช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบที่มาจากการบดเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ทำให้กระเพาะอาหารทำงานหนัก ขึ้นและหลั่งกรดในกระเพาะออกมา ปวดหัวบ่อยจากอาการปวดฟันที่ผุ เป็นต้น
ทำไมฟันไม่สบกัน
- กรรมพันธุ์จากคนในครอบครัว หากคนในครอบครัวมีปัญหาโครงสร้างของกระดูกขากรรไกรผิดปกติ ลูกหลานก็อาจมีปัญหาฟันไม่สบได้เช่นกันค่ะ
- พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำโดยไม่รู้ตัว ได้แก่ เด็กติดดูดจุกนม เด็กติดการดูดนิ้ว ทำให้ปลายลิ้นดันฟันบนด้านหน้า
- เกิดอุบัติเหตุอย่างรุนแรงบริเวณขากรรไกร ทำให้ขากรรไกรผิดรูปและมีผลต่อการสบฟันที่ผิดปกติ
ข้อเสียของฟันไม่สบ
- กระดูกขากรรไกรเจริญเติบโตผิดปกติ ส่งผลให้คนไข้มีอาการปวดที่เกี่ยวข้องกับขากรรไกร เช่น ขากรรไกร ข้อต่อขากรรไกร ลามไปถึงหูทั้ง 2 ข้าง บางรายอาจมีอาการรุนแรงจนถึงขั้นเนื้อเยื่อที่ยึดข้อต่อขากรรไกรเกิดการเสื่อม ไม่สามารถอ้าปากกว้างได้เหมือนคนอื่น นอนกรนบ่อย หรืออาจหยุดหายใจขณะหลับได้ด้วยค่ะ
- เคี้ยวข้าวยากขึ้นเพราะมีช่องว่างระหว่างฟันบนและฟันล่าง ทำให้เศษอาหารที่เข้าสู่กระเพาะอาหารมีชิ้นใหญ่และกระเพาะอาหารจะต้องรับภาระในการย่อยมากขึ้น ส่งผลให้ทานอาหารได้น้อยลง ตามมาด้วยอาการท้องอืด ท้องเฟ้อบ่อยขึ้น
- ทำความสะอาดช่องปากยากขึ้น หากฟันไม่สบอาจทำให้ฟันซี่อื่นได้รับแรงดันมากผิดปกติและมีปัญหาในการทำความสะอาดที่ยากมากขึ้น อาจมีเศษอาหารติดอยู่ตามซอกฟันไปอีกนาน
- พูดไม่ชัดในคำบางคำ โดยเฉพาะตัวอักษร ส และ ซ หากปล่อยไว้นานอาจทำให้ลิ้นและริมฝีปากด้อยประสิทธิภาพและมีผลต่อการออกเสียงในระยะยาว
- สูญเสียความมั่นใจ หากคุณมีปัญหาการสบฟันก็จะทำให้ยิ้มได้ไม่กว้าง ออกเสียงไม่ชัด น้ำลายกระเด็นง่าย ส่งผลให้ความมั่นใจของคุณน้อยลง
- ฟันสึกเร็วขึ้น เมื่อสบฟันผิดปกติก็จะทำให้กล้ามเนื้อของฟันซี่อื่นได้รับแรงกดมากกว่าปกติ ทำให้ฟันสึกเร็วกว่าคนทั่วไป
- เสียวฟันบ่อยขึ้น เมื่อฟันสึกไวขึ้นก็จะทำให้เกิดการปวดฟัน เสียวฟันบ่อยกว่าคนทั่วไป หรืออาจปวดขณะทานอาหาร
ฟันไม่สบกัน จัดฟันได้ไหม
ได้ค่ะ เพราะการจัดฟันสามารถรักษาปัญหาฟันได้หลากหลายรูปแบบรวมถึงปัญหาฟันไม่สบด้วยค่ะ สำหรับการรักษาปัญหาฟันไม่สบ คุณหมอจะตรวจดูความผิดปกติขากรรไกรก่อนที่จะผ่าตัดเพื่อจัดแนวกระดูกขากรรไกร ซึ่งจะช่วยให้ฟันกลับมาเรียงตัวเป็นปกติ ซึ่งการจัดฟันสำหรับคนที่มีฟันไม่สบสามารถจัดฟันได้ทุกรูปแบบค่ะ
ฟันไม่สบกัน จัดฟันกี่ปี
โดยทั่วไปแล้วการจัดฟันสำหรับผู้ที่มีปัญหาฟันไม่สบจะอยู่ที่ประมาณ 12 – 18 เดือน แต่หากคนไข้ดูแลช่องปากไม่ดีพอและเกิดฟันผุหรือเหงือกอักเสบระหว่างจัดฟัน อาจต้องบวกเวลาในการรักษาเพิ่มไปอีกค่ะ
ขั้นตอนการจัดฟัน
- คุณหมอจะตรวจช่องปากอย่างละเอียดและเอกซเรย์ฟันเพื่อวิเคราะห์และแนะนำรูปแบบการจัดฟันให้แก่คนไข้
- คุณหมอจะเคลียร์ช่องปากของคนไข้ให้เสร็จก่อน เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างจัดฟัน
- คุณหมอจะนัดคนไข้ไปรับอุปกรณ์จัดฟันครบชุด กรณีที่จัดฟันใส คุณหมอจะแนะนำวิธีการเปลี่ยนเครื่องมือด้วยตัวเอง แต่หากจัดฟันเหล็กคุณหมอจะติดเครื่องมือจัดฟันบน-ล่างให้แก่คนไข้ ทั้งนี้คนไข้จะต้องมีปรับเครื่องมือจัดฟันตามนัดของคุณหมอทุกครั้ง เพื่อให้ผลลัพธ์เป็นไปตามแผนที่คุณหมอวางไว้
ดูแลช่องปากหลังจัดฟันอย่างไรดี
- แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง หรือแปรงทุกครั้งหลังมื้ออาหารอย่างน้อย 30 นาที เพื่อลดเศษอาหารที่อาจติดอยู่ตามซอกฟันและเครื่องมือจัดฟัน
- ทำความสะอาดช่องปากด้วยแปรงสีฟันควบคู่ไปกับไหมขัดฟันและน้ำยาบ้วนปาก
- ในกรณีที่คนไข้จัดฟันเป็นนักกีฬา แนะนำให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันการกระแทก (เมาท์การ์ด) เสมอ
- หลีกเลี่ยงอาหารที่เคี้ยวยากเพื่อลดภาระให้แก่เครื่องมือจัดฟัน อีกทั้งป้องกันเครื่องมือเสื่อมไวขึ้น
- ไม่ละเลยปัญหาช่องปากแม้ว่าจะเป็นอาการเจ็บปวดเล็กน้อยก็ตาม ให้ปรึกษาคุณหมอทันที
- หากเครื่องมือจัดฟันหลุด ให้รีบพบคุณหมอทันที เพื่อให้คุณหมอซ่อมเครื่องมือและช่วยให้ผลการรักษาเป็นไปตามแผนของคุณหมอ
บทความที่น่าสนใจ
- สะพานฟันคืออะไร แตกต่างจากฟันปลอมชนิดอื่นอย่างไร
- ก่อนจัดฟัน หลังจัดฟัน แตกต่างกันไหม เตรียมตัวอย่างไรดี
- ฟันปลอมหัก ทำไงดี ใช้กาวติดเองจะเป็นอันตรายมั้ย
จัดฟันที่ไหน ทำไมต้อง Toothluck Dental Clinic
หากคุณมีปัญหาช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นฟันซ้อนฟันเก ฟันห่าง ฟันสบผิดปกติ หรือกำลังมองหาคลินิกสำหรับดูแลฟัน เรา Tooth Luck Detal Clinic เป็นคลินิกทันตกรรมสำหรับเด็กและทุกคนในครอบครัว เรามีทีมทันตแพทย์พร้อมให้บริการทันตกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นจัดฟัน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด ฟอกสีฟัน ขูดหินปูน อุดฟัน รักษารากฟัน รากฟันเทียม วีเนียร์ ฟันปลอม และบริการทันตกรรมสำหรับเด็ก มาพร้อมเครื่องมือที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน และครบครัน ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก ๆ และชาวจังหวัดขอนแก่นอย่างแท้จริง
อุดฟันหน้าเจ็บมั้ย อยู่ได้นานแค่ไหน ดูแลอย่างไรให้ฟันแข็งแรง
แม้ว่าฟันจะขึ้นชื่อในเรื่องของความแข็งแรง หากดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสมก็อาจทำให้ฟันอยู่คู่กับช่องปากของเราไปได้ตลอดชีวิตเลยทีเดียว [...]
จัดฟันซ้อนเก มีเขี้ยว ใช้เวลานานไหม จัดฟันแบบไหนช่วยได้บ้าง
ฟันซ้อนเก มีเขี้ยว [...]
ปักหมุดจัดฟันคืออะไร เจ็บไหม เหมาะกับปัญหาฟันแบบไหน
จริงอยู่ที่การจัดฟันจะเน้นการใช้เครื่องมือจัดฟันเป็นหลัก แต่หากคนไข้มีปัญหาฟันเรียงตัวผิดปกติบางประเภทก็อาจจำเป็นต้องใช้หมุดจัดฟันเข้าร่วมด้วย [...]
รากฟันเทียมหลุด เกิดจากอะไร มีวิธีดูแลและป้องกันอย่างไร
แม้ว่าคุณจะเคยผ่านการทำรากฟันเทียมมาแล้ว แต่หากวันนึงรากฟันเทียมเกิดหลุดขึ้นมาก็อาจทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจเป็นอย่างมาก [...]
ขี้ผึ้งจัดฟัน คืออะไร ทำไมคนจัดฟันต้องพกติดตัวไว้
เมื่อเริ่มจัดฟันแล้วคุณหมอจะให้ขี้ผึ้งจัดฟันเอาไว้ทาบนเครื่องมือจัดฟัน ว่าแต่ทำไมต้องเป็นขี้ผึ้งด้วย [...]
จัดฟันเหงือกบวม หายเองได้หรือไม่ แก้ยังไงดี
แม้ว่าการจัดฟันจะช่วยแก้ปัญหาฟันเรียงไม่เป็นระเบียบที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพฟันตามมาได้ แต่ในช่วงระหว่างการจัดฟันนั้นคนไข้อาจต้องรับมือกับความผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นภายในปาก [...]