แม้ว่าการจัดฟันจะช่วยแก้ปัญหาฟันได้ดีที่สุด แต่การจัดฟันก็มีข้อเสียอยู่เหมือนกันนะคะ หากคนไข้ดูแลช่องปากระหว่างจัดฟันได้ไม่ดีพออาจทำให้ช่องปากมีปัญหาจนถึงขั้นสูญเสียฟันได้เลยทีเดียว วันนี้หมอณัฐจะมาพูดถึงข้อเสียจัดฟันที่คนจัดฟันต้องรู้เพื่อการดูแลช่องปากอย่างถูกวิธีกันค่ะ
7 ข้อเสียจัดฟันที่คนจัดฟันต้องรู้
1. ความรู้สึกไม่คุ้นชิน
แน่นอนว่าเครื่องมือจัดฟันเป็นอุปกรณ์ทางทันตกรรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากของคนไข้ ไม่ใช่สิ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเอง เมื่อเครื่องมือเข้ามาอยู่ในช่องปากแล้ว ร่างกายก็จะมีปฏิกิริยาต่อต้าน สร้างความรู้สึกระคายเคืองภายในช่องปากเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอาการเจ็บจากการติดหรือปรับเครื่องมือจัดฟันใหม่ ๆ เนื่องจากตัวเครื่องมือจะสร้างแรงดันฟันเพื่อควบคุมทิศทางการเคลื่อนของฟันให้ตรงตามแผนการรักษาของทันตแพทย์ ซึ่งแรงดันนี้เองจะไปกดหลอดเลือดและเกิดอาการเจ็บตามมา โดยทั่วไปแล้วอาการปวดจะค่อย ๆ หายไปเองภายใน 3-5 วัน ทั้งนี้หมอณัฐขอแนะนำให้คนไข้ทานยาแก้ปวดและงดรับประทานอาหารที่เหนียวหรือแข็งเกินไปเพื่อบรรเทาอาการปวดค่ะ
2. แผลร้อนใน
นอกจากความคุ้นชินแล้ว ตัวเครื่องมือเองก็ผลิตจากวัสดุที่แข็งแรงและทนทานในระดับนึง หากเกิดการเสียดสีกับเหงือกไปนานวันเข้า ก็อาจทำให้ลวดจัดฟันหรือแบร็คเก็ตทิ่มบริเวณกระพุ้งเเก้มหรือเหงือกง่ายขึ้นค่ะ นอกจากนี้ตัวเครื่องมือจัดฟันยังทำให้ปากปิดไม่สนิท ส่งผลให้ปากแห้งบ่อย หากปล่อยให้ปากแห้งมากเกินไปก็จะทำให้ตัวเครื่องมือเสียดสีภายในช่องปากง่ายขึ้นและเกิดแผลในที่สุด สำหรับวิธีแก้ปัญหาแผลร้อนในนั้นทันตแพทย์จะจ่ายขี้ผึ้งไตรโนโลน (Trinolone Oral Paste) เพื่อให้คนไข้แปะขี้ผึ้งบริเวณปลายเหล็กหรือแบร็คเก็ตเพื่อป้องกันการเกิดแผลใหม่ซ้ำที่จุดเดิม แนะนำให้ทานช่วงหลังอาหารและช่วงก่อนนอนซึ่งเป็นช่วงที่คนไข้ขยับปากน้อยที่สุดค่ะ
3. ทำความสะอาดช่องปากยากขึ้น
แน่นอนว่าเครื่องมือจัดฟันเป็นสิ่งที่ไม่เคยอยู่ในช่องปากของเรามาก่อน ดังนั้นการทำความสะอาดช่องปากระหว่างจัดฟันจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายมากสำหรับผู้ที่เริ่มจัดฟันได้ไม่นาน เพราะถ้าหากคนไข้ไม่หมั่นสังเกตเครื่องมือจัดฟันอยู่เสมอ ทำความสะอาดช่องปากไม่ทั่วทุกซอกทุกมุม ใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดไม่เหมาะสมกับเครื่องมือ หรือแม้แต่ทำความสะอาดช่องปากน้อยเกินไป ก็อาจทำให้เศษอาหารตกค้างอยู่ในช่องปากนานขึ้นและก่อให้เกิดผลเสียอื่น ๆ ตามมาในระยะยาว โดยเฉพาะปัญหากลิ่นปากและอาจพัฒนาเป็นฟันผุได้ด้วยค่ะ สำหรับวิธีทำความสะอาดช่องปากหลังจัดฟันที่หมอณัฐจะแนะนำนั้นให้ใช้แปรงสีฟันและยาสีฟันสําหรับคนจัดฟัน ร่วมถึงใช้ไหมขัดฟัน ที่ร้อยไหม และน้ำยาบ้วนปากด้วยนะคะ
แนะนำวิธีแปรงฟันสําหรับคนจัดฟัน แปรงยังไงให้สะอาดเนียบ
4. มีกลิ่นปากง่ายกว่าแต่ก่อน
นอกจากการทำความสะอาดช่องปากยากขึ้นแล้ว หากคนไข้ทำความสะอาดเครื่องมือจัดฟันได้ไม่ดีพอ อาจทำให้เศษอาหารติดอยู่ตามซอกฟันและเครื่องมือง่ายขึ้นด้วยค่ะ โดยเฉพาะฟันซี่ในสุดซึ่งเป็นซี่ที่ทำความสะอาดยากกว่าซี่อื่น หากคนไข้ปล่อยให้เศษอาหารตกค้างนาน ๆ เข้าก็จะทำให้แบคทีเรียภายในช่องปากย่อยเศษอาหารเหล่านั้นและเกิดกลิ่นปากตามมานั่นเองค่ะ ดังนั้นคุณจึงควรดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อให้น้ำพัดพาเอาเศษอาหารและขจัดเซลล์หรือแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดกลิ่นปากภายในปากของคุณออกไป รวมถึงทำความสะอาดช่องปากให้นานขึ้นประมาณ 4-5 นาที และใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดที่เหมาะสมกับช่องปากของคุณค่ะ
5. น้ำลายไหลบ่อย
เมื่อทันตแพทย์ติดเครื่องมือจัดฟันไว้ในช่องปากแล้วก็จะทำให้การวางรูปปากไม่เหมือนเดิม ปากปิดไม่สนิทเหมือนแต่ก่อนและทำให้น้ำลายไหลออกจากปากโดยที่คนไข้ไม่รู้ตัว ส่งผลให้ภายในช่องปากไม่มีน้ำลายมากพอที่จะทำให้ภายในช่องปากชุ่มชื้น ส่งผลให้ใช้ชีวิตก็ลำบากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร พูดคุย หรือนอนหลับก็ตาม โดยอาการน้ำลายไหลบ่อยจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่หากไม่ดีขึ้นแสดงว่าคุณกำลังมีปัญหาภายในช่องปาก แนะนำให้รีบพบทันตแพทย์โดยเร็วที่สุดค่ะ
6. เหงือกอักเสบ
ต้องเข้าใจก่อนนะคะว่าตัวเครื่องมือจัดฟันจะเข้าไปปรับเปลี่ยนทิศทางการเรียงตัวของฟันที่ส่งผลต่อเหงือกโดยตรงเพราะตัวเครื่องมือจะดึงให้ฟันเคลื่อนไปยังตำแหน่งที่ทันตแพทย์ต้องการและก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเหงือก รบกวนเนื้อเยื่อภายในช่องปาก ส่งผลให้เหงือกบวมแดงได้ หากต้องการบรรเทาเหงือกอักเสบแนะนำให้งดรับประทานอาหารที่แข็งหรือเหนียวเกินไป รักษาความสะอาดภายในช่องปากอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงไปพบทันตแพทย์ทันทีที่เกิดความผิดปกติภายในช่องปากด้วยค่ะ
7. ฟันผุ
ปัญหานี้ตามมาต่อจากการที่มีเศษอาหารตกค้างในช่องปากมากเกินไปและกลายเป็นหินปูน หากปล่อยไว้นาน ทำความสะอาดช่องปากไม่มากพอก็อาจทำให้ฟันผุง่ายขึ้น ทั้งนี้สามารถสังเกตภาวะฟันผุได้จากอาการต่าง ๆ เช่น มีกลิ่นปากบ่อย มีเศษอาหารติดอยู่ตามซอกฟันหรือรูฟันมากขึ้น เสียวฟัน ปวดฟัน หรือเจ็บฟันบ่อย ฟันและเหงือกอักเสบ หากพบอาการดังกล่าวและไม่ดีขึ้น ทันตแพทย์จะทำการรักษาด้วยการถอดลวดและยางจัดฟันที่อยู่ในแนวเดียวกับฟันผุ จากนั้นจะกรอฟันที่ผุออกและทำความสะอาดฟันซี่นั้นก่อนที่จะทากาวยึดวัสดุอุดฟันและใส่ลวดและยางจัดฟันกลับเข้าที่เดิม
บทความที่น่าสนใจ
- ใส่รากเทียมแล้วจัดฟันเลยได้ไหม ถ้าอยากจัดฟันต้องทำยังไงดี
- ฟันหมดปาก ทำรากฟันเทียมทั้งปากได้ไหม มีขั้นตอนยังไงบ้าง
- ฟันเป็นรู ปวดมาก อุดได้ไหม รักษายังไงดี หมอณัฐมีคำตอบ
จัดฟันที่ไหนดี ทำไมต้อง Toothluck Dental Clinic
หากคุณมีปัญหาช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นฟันซ้อนฟันเก ฟันห่าง ฟันสบผิดปกติ หรือกำลังมองหาคลินิกสำหรับดูแลฟัน เรา Tooth Luck Detal Clinic เป็นคลินิกทันตกรรมสำหรับเด็กและทุกคนในครอบครัว เรามีทีมทันตแพทย์พร้อมให้บริการทันตกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นจัดฟัน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด ฟอกสีฟัน ขูดหินปูน อุดฟัน รักษารากฟัน รากฟันเทียม วีเนียร์ ฟันปลอม และบริการทันตกรรมสำหรับเด็ก มาพร้อมเครื่องมือที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน และครบครัน ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก ๆ และชาวจังหวัดขอนแก่นอย่างแท้จริง
รีวิวจัดฟันกับ Tooth Luck dental clinic คลินิกทำฟัน จัดฟัน ขอนแก่น
อุดฟันหน้าเจ็บมั้ย อยู่ได้นานแค่ไหน ดูแลอย่างไรให้ฟันแข็งแรง
แม้ว่าฟันจะขึ้นชื่อในเรื่องของความแข็งแรง หากดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสมก็อาจทำให้ฟันอยู่คู่กับช่องปากของเราไปได้ตลอดชีวิตเลยทีเดียว [...]
จัดฟันซ้อนเก มีเขี้ยว ใช้เวลานานไหม จัดฟันแบบไหนช่วยได้บ้าง
ฟันซ้อนเก มีเขี้ยว [...]
ปักหมุดจัดฟันคืออะไร เจ็บไหม เหมาะกับปัญหาฟันแบบไหน
จริงอยู่ที่การจัดฟันจะเน้นการใช้เครื่องมือจัดฟันเป็นหลัก แต่หากคนไข้มีปัญหาฟันเรียงตัวผิดปกติบางประเภทก็อาจจำเป็นต้องใช้หมุดจัดฟันเข้าร่วมด้วย [...]
รากฟันเทียมหลุด เกิดจากอะไร มีวิธีดูแลและป้องกันอย่างไร
แม้ว่าคุณจะเคยผ่านการทำรากฟันเทียมมาแล้ว แต่หากวันนึงรากฟันเทียมเกิดหลุดขึ้นมาก็อาจทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจเป็นอย่างมาก [...]
ขี้ผึ้งจัดฟัน คืออะไร ทำไมคนจัดฟันต้องพกติดตัวไว้
เมื่อเริ่มจัดฟันแล้วคุณหมอจะให้ขี้ผึ้งจัดฟันเอาไว้ทาบนเครื่องมือจัดฟัน ว่าแต่ทำไมต้องเป็นขี้ผึ้งด้วย [...]
จัดฟันเหงือกบวม หายเองได้หรือไม่ แก้ยังไงดี
แม้ว่าการจัดฟันจะช่วยแก้ปัญหาฟันเรียงไม่เป็นระเบียบที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพฟันตามมาได้ แต่ในช่วงระหว่างการจัดฟันนั้นคนไข้อาจต้องรับมือกับความผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นภายในปาก [...]