สำหรับใครที่มีปัญหาฟันหรือเกิดอุบัติเหตุจนทำให้ฟันหัก อาจกำลังสงสัยว่าจะรักษาให้กลับมาเหมือนเดิมได้ไหม ต้องรักษาด้วยวิธีไหน แล้วมีวิธีป้องกันฟันไม่ให้หักได้อย่างไรบ้าง วันนี้หมอณัฐจะมาเล่าให้ฟังกันค่ะ
ฟันหัก อันตรายแค่ไหน
ยังมีอีกหลายคนที่เชื่อกันว่าหากฟันน้ำนมหักแล้วก็แค่รอให้ฟันแท้งอกขึ้นมาใหม่และละเลยการดูแลฟันซี่ที่ฟักจนอาจกลายเป็นปัญหาที่ส่งผลให้ฟันแท้ที่งอกขึ้นมา นอกจากนี้ยังสร้างความทรมานในการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดฟัน เสียวฟันจนไม่อยากทานอะไรเลย เหงือกบวม มีกลิ่นปาก หรือฟันซี่นั้นไปบาดลิ้นหรือบริเวณอื่นในช่องปากได้ด้วยนะคะ หากร้ายแรงอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อจนอาจสูญเสียฟันในอนาคต
สาเหตุที่ทำให้ฟันหัก
- พฤติกรรมเสี่ยงจากความเคยชิน เช่น นอนกัดฟัน หรือกัดฟันแน่นเมื่อรู้สึกโกรธ
- ใช้งานฟันผิดวิธี เช่น ใช้ฟันกัดอาหารที่เหนียวเกินไป ใช้ฟันกัดของแข็ง หรือเปิดขวด
- ทำความสะอาดช่องปากน้อยเกินไป เช่น แปรงฟันวันละครั้ง หรือทำความสะอาดผิดวิธี เช่น แปรงฟันทันทีหลังมื้ออาหาร
- เล่นกีฬาที่มีโอกาสปะทะสูง เช่น ว่ายน้ำ, ฟุตบอล, บาสเกตบอล
- เกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้ม, อุบัติเหตุจากการขับขี่
ฟันหักมีกี่ประเภท
- ฟันหักแต่ไม่โยก หรือโยกเล็กน้อย หากเกิดอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงมากนัก มีเพียงเลือดไหลซึมออกตามขอบเหงือก คุณหมอก็สามารถจัดฟันให้กลับเข้าที่ได้ทันที
- ฟันหักเกินครึ่งซี่ หากมีอาการเจ็บฟัน ปวด หรือเสียวฟัน รวมถึงมีฟันโยกหรือฟันหักจนเกือบออกจากเหงือก แนะนำให้คนไข้กัดผ้าก๊อซปิดแผลไว้แน่น ๆ เพื่อห้ามเลือด แล้วรีบไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้คุณหมอจะประเมินความเสียหายของฟันและรากฟันเพื่อทำการรักษาฟันอย่างปลอดภัยที่สุด
- ฟันหักหลุดออกมา หากได้รับอุบัติเหตุรุนแรงจนฟันหักออกมา กรณีที่เป็นฟันน้ำนมหลุดออกจากเบ้าฟัน คุณหมอจะไม่แนะนำให้ใส่ฟันกลับเบ้าฟันเหมือนเดิม เพราะวิธีนี้อาจให้ผลลัพธ์ไม่แน่นอน แต่หากเป็นฟันแท้ก็สามารถใส่ฟันกลับเบ้าฟันได้เลยค่ะ
ระดับของฟันฟัก
- หักระดับเคลือบฟัน มักไม่มีอาการใด ๆ แต่หากฟันหักบริเวณเคลือบฟันซี่หน้า อาจส่งผลต่อความสวยงาม ทั้งนี้คุณหมอจะรักษาโดยใช้หัวกรอความเร็วสูงขัดแต่งรอยบิ่นของฟัน หรืออาจใช้วัสดุสีเหมือนฟันอุดและตกแต่งรูปร่างฟันให้มีสภาพฟันเหมือนตอนที่ยังไม่หัก
- หักระดับเนื้อฟัน คนไข้มักมีอาการเสียวฟันตามมา เนื่องจากชั้นเนื้อฟันเป็นชั้นถัดเข้ามาจากชั้นเคลือบฟัน หากปล่อยไว้นานไม่รีบรักษาอาจเกิดหนองบริเวณปลายรากฟันหรืออาจถึงขั้นฟันตาย ในส่วนของการรักษา คุณหมอจะอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน แต่หากฟันซี่นั้นแตกหักจนอุดฟันไม่ได้แล้ว คุณหมอจะครอบฟันเพื่อรักษา โดยจะนัดคนไข้มีดูผลการรักษาเป็นระยะ ๆ ค่ะ
- หักทั้งฟัน คนไข้มักมีอาการฟันโยกและมีเลือดออกตามขอบเหงือก ถ้าฟันซี่ที่หักนั้นอยู่ใต้เหงือกอาจต้องผ่าตัดแต่งเหงือกเพื่อรักษา โดยคุณหมอจะร่นเหงือกลงจนถึงขอบรอยแตกที่โผล่พ้นเหงือกขึ้นมา หากคุณหมอประเมินว่าฟันซี่นั้นหักไม่ถึงโพรงประสาทฟัน ก็จะรักษาด้วยการอุดหรือครอบฟัน หรือใช้เครื่องมือจัดฟันดึงฟันที่แตกอยู่ให้ขึ้นพ้นขอบเหงือก แต่หากฟันซี่นั้นหักถึงโพรงประสาทฟัน คุณหมอจะรักษารากฟัน ทำเดือยฟันและครอบฟันค่ะ
- หักระดับรากฟัน คนไข้มักมีเลือดออกมายังขอบเหงือกและมีฟันโยกร่วมด้วย ทั้งนี้คุณหมอจะเอกซเรย์เพื่อประเมินว่าฟันซี่นั้นสามารถใช้งานต่อได้หรือไม่ กรณีที่เป็นฟันหักในแนวดิ่ง มักจะไม่สามารถใช้งานได้อีก คุณหมอจะให้ถอนฟันซี่นั้นออกค่ะ แต่หากฟันเกิดหักในแนวราบและมีรากฟันแตก อาจเสี่ยงต่อเชื้อโรคเข้าไปยังรากฟันและละลายกระดูกฟัน จนทำให้ฟันซี่นั้นต้องถูกถอนออก
ฟันหัก ปฐมพยาบาลอย่างไรดี
ถ้ามีเลือดไหลออกมาจากฟัน ให้รีบนำผ้าก๊อซปิดไว้ แล้วใช้ถุงน้ำแข็งมาประคบซึ่งจะช่วยลดอาการบวมได้ในระดับหนึ่ง เมื่อเลือดหยุดไหลแล้วอย่าปล่อยให้ฟันที่หลุดออกมาแห้งเด็ขาด เพราะอาจทำให้คุณหมอใช้กาวทันตกรรมติดฟันให้กลับเป็นเหมือนเดิมได้ยาก ดังนั้นให้แช่ฟันลงในสารละลายที่หาง่ายอย่างนมจืด แล้วล้างมือให้สะอาด จากนั้นค่อยจับไปที่ตัวฟัน (ไม่ควรจับรากฟันและเด็ดขาด) และรีบไปพบหมอฟันทันทีหรือเร็วที่สุดไม่ควรเกิน 60 นาที เพื่อให้คุณหมอเอ็กซ์เรย์ฟัน หากคุณหมอประเมินแล้วว่าสามารถนำฟันกลับมาใส่ไว้ที่เดิมได้ อาจต้องทำการดามฟันไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วค่อยเข้ารับการรักษารากฟันต่อไปค่ะ แต่ในกรณีที่คนไข้ฟันหักหรือหลุดออกมากกว่า 3 ซี่ คุณหมอจะแนะนำให้ใส่ฟันปลอมแทนค่ะ
ฟันหัก รักษายังไง
- หากพบเศษฟันที่หักให้ทำความสะอาดก่อน จากนั้นค่อยใส่ลงไปในนมจืดเพื่อคงสภาพฟันและรีบไปพบคุณหมอทันที
- กรณีที่คนไข้ได้รับอุบัติเหตุ ให้รีบมาพบหมอฟันภายใน 60 นาที เนื่องจากช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่หมอสามารถใช้กาวทันตกรรมติดฟันที่หักให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง
- กรณีที่มาช้าเกินไปหรือหาเศษฟันไม่พบ คุณหมอจะรักษาฟันซี่นั้นด้วยการอุดฟันหรือครอบฟันแทนค่ะ
- กรณีที่คนไข้เป็นเด็ก หากพบว่าฟันซี่นั้นโยกมากเกินไป คุณหมอจะถอนฟันออกเพื่อป้องกันฟันหลุดและสำลักลงคอ แต่หากฟันที่หักไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเด็กมาก คุณหมอจะนัดติดตามอาการเพื่อดูความผิดปกติของฟันซี่นั้นหรือซ่อมแซมฟันซี่นั้นด้วยวัสดุทางทันตกรรม
- กรณีที่ต้องถอนฟัน ทันตแพทย์จะประเมินวิธีรักษาเพื่อไม่ให้ฟันซี่ข้าง ๆ เกิดช่องว่างและทำให้ฟันล้ม เช่น ใส่ฟันปลอม, ทำรากฟันเทียม, ทำสะพานฟัน, ทำวีเนียร์ เป็นต้น
- หากมีอาการเจ็บปวดหลังฟันหัก ให้รีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นและทานยาแก้ปวด รวมถึงบ้วนปากด้วยน้ำเกลือบ่อย ๆ เพื่อบรรเทาอาการ
- งดการใช้ฟันซี่ที่หักในการบดเคี้ยวอาหารและเลือกรับประทานแค่อาหารอ่อนไปก่อน
วิธีป้องกันฟันหัก
- สวมที่ครอบฟันหรือฟันยางเมื่อทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อฟัน เหงือก และกระดูกขากรรไกรถูกกระแทกจนได้รับความเสียหายหนัก ควรใช้ฟันยางที่มีขนาดพอดีกับปากเพื่อป้องกันปัญหาช่องปากจากยางที่คับหรือหลวมเกินไป
- งดพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจทำให้ฟันกระเทือน เช่น นอนกัดฟัน เล่นกีฬาที่อาจปะทะกันง่าย ไม่ใช้ฟันเปิดขวด
- ทำความสะอาดฟันด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งหลังมื้ออาหารอย่างน้อย 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันเคลือบฟันเสียหายจากกรดที่มาจากอาหาร
รักษาฟันหัก ที่ไหนดี
หากคุณมีปัญหาช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นฟันซ้อนฟันเก ฟันห่าง ฟันสบผิดปกติ เรา Tooth Luck Detal Clinic เป็นคลินิกทันตกรรมสำหรับเด็กและทุกคนในครอบครัว เรามีทีมทันตแพทย์พร้อมให้บริการทันตกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นจัดฟัน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด ฟอกสีฟัน ขูดหินปูน อุดฟัน รักษารากฟัน รากฟันเทียม วีเนียร์ ฟันปลอม และบริการทันตกรรมสำหรับเด็ก มาพร้อมเครื่องมือที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน และครบครัน ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก ๆ และชาวจังหวัดขอนแก่นอย่างแท้จริง
รีวิวจัดฟันใส Invisalign กับ Tooth Luck dental clinic คลินิกทำฟัน จัดฟัน ขอนแก่น
บทความที่น่าสนใจ
- ฟันน้ำนมผุ อันตรายแค่ไหน ดูแลสุขภาพช่องปากลูกน้อยอย่างไรดี
- อย่าปล่อยให้ฟันผุทะลุโพรงประสาท ทำร้ายสุขภาพช่องปากในระยะยาว
- รากฟันอักเสบเกิดจากอะไร ทำไมต้องรีบรักษาโดยเร็วที่สุด
ฟันผุทั้งปาก จัดฟันได้ไหม ดูแลช่องปากอย่างไรไม่ให้บานปลาย
นอกจากจะมีผลต่อความมั่นใจเวลายิ้มหรือพูดคุยกับคนอื่นแล้ว ฟันผุทั้งปากยังมีผลเสียอื่นๆ [...]
ฟันยื่นเกิดจากอะไร จัดฟันแก้ได้ไหม ใช้เวลารักษานานหรือไม่
ฟันยื่นเป็นปัญหาช่องปากที่หลายคนพบเจอและส่งผลต่อความมั่นใจเวลาพูดคุยกับผู้อื่น หลายคนอาจกังวลว่าถ้าปล่อยไว้นานจะเป็นผลเสียในระยะยาวหรือไม่ [...]
ไม่อยากมีปัญหาช่องปาก ต้องทำความสะอาดด้วยแปรงซอกฟัน
หลายคนอาจคิดว่าการแปรงฟันเพียงวันละ 2 [...]
เฝือกสบฟันคืออะไร ทำไมถึงป้องกันปัญหาปวดฟันและฟันสึกได้ดี
หากคุณรู้สึกปวดเมื่อยแก้มหรือหน้าหูหลังตื่นนอนหรือรู้สึกปวดฟันขณะรับประทานอาหาร นี่เป็นสัญญาณหนึ่งที่กำลังบอกว่าคุณกำลังประสบภาวะนอนกัดฟันที่หากปล่อยไว้นาน [...]
น้ำยาบ้วนปากคนจัดฟัน เลือกแบบไหนให้ปลอดภัย ไม่ทำร้ายช่องปาก
การดูแลตัวเองหลังปรับเครื่องมือเป็นสิ่งสำคัญที่คนไข้จัดฟันต้องปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด หากคนไข้ดูแลตัวเองไม่ดีพอ [...]
รวมสาเหตุที่ทำให้ลวดจัดฟันงอ เพื่อการป้องกันที่ดียิ่งขึ้น
โดยทั่วไปแล้วหมอฟันจะนัดให้เราเข้าไปเปลี่ยนลวดตามระยะเวลาที่กำหนด แต่สำหรับใครที่จัดฟันไปได้สักพักแล้วลวดจัดฟันงอ [...]