สำหรับใครที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากและทนต่ออาการเจ็บปวดภายในช่องปากไม่ไหว เมื่อไปพบคุณหมอก็ได้คำตอบกลับมาว่าจะต้องรักษาด้วยการจัดฟันและต้องทำการเคลียร์ช่องปากให้เสร็จก่อนจัดฟัน ว่าแต่ทำไมต้องเคลียร์ก่อนจัดฟันเสมอ ไม่เคลียร์แล้วจะเป็นอะไรมั้ย วันนี้หมอณัฐจะมาไขข้อข้องใจในส่วนนี้กันค่ะ
การเคลียร์ช่องปากคืออะไร
เป็นการตรวจสุขภาพช่องปากโดยรวมอย่างละเอียดเพื่อดูฟันทุกซี่ของคนไข้ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ฟันเรียงตัวเป็นระเบียบแค่ไหน มีฟันผุไหม มีฟันซ้อนงอกหรือขึ้นผิดไปจากแนวเหงือกหรือไม่ หากพบปัญหาสุขภาพฟันที่ต้องแก้ไข คุณหมอจะแนะนำให้แก้ไขปัญหาเหล่านั้นเพื่อเตรียมความพร้อมให้เหงือกและฟันแข็งแรงพอสำหรับจัดฟัน อย่าลืมนะคะว่าการติดเครื่องมือจัดฟันเข้าไปในปากจะทำให้คนไข้ทำความสะอาดช่องปากยากขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปากง่ายขึ้น การจัดการปัญหาสุขภาพฟันก่อนจัดฟันจึงช่วยลดความเสี่ยงจากปัญหาช่องปากที่อาจเกิดขึ้นระหว่างใส่เครื่องมือจัดฟันด้วยค่ะ
เคลียร์ช่องปาก มีอะไรบ้าง
สำหรับการเคลียร์ช่องปากมีหลายประเภท แต่ปัญหาช่องปากส่วนใหญ่จะต้องแก้ด้วยการขูดหินปูน, ถอนฟัน, อุดฟัน, ผ่าฟันคุด และรักษารากฟัน โดยแต่ละประเภทจะมีเทคนิคการรักษาแตกต่างกันดังนี้
1. ขูดหินปูน
เป็นการใช้เครื่องมือทันตกรรมจี้หรือขูดผิวฟันและซอกฟันเพื่อกำจัดคราบหินปูนที่ติดฝังแน่น ต้องบอกก่อนนะคะว่าคราบหินปูนเป็นตัวการสำคัญของปัญหาสุขภาพฟันหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นต้นเหตุของฟันเหลือง ฟันผุ เหงือกอักเสบ ช่องปากมีกลิ่นเหม็น ฟันโยก และอื่น ๆ อีกมากที่อาจเสี่ยงต่อการสูญเสียฟันในอนาคต และเนื่องจากช่วงติดเครื่องมือจัดฟันเป็นช่วงที่คนไข้จะทำความสะอาดช่องปากได้น้อยลง (เว้นเสียแต่ว่าจัดฟันใสที่สามารถถอดเครื่องมือจัดฟันออกได้ด้วยตัวเอง) คุณหมอจึงต้องขูดหินปูนให้ก่อนจัดฟันเพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดจากการทำความสะอาดช่องปากไม่ทั่วถึงระหว่างติดเครื่องมือนั่นเองค่ะ
2. ถอนฟัน
เป็นวิธีการรักษาสุขภาพช่องปากด้วยการนำฟันที่มีปัญหาจนไม่สามารถใช้งานได้เหมือนฟันซี่อื่น ออกจากกระดูกเบ้าฟัน ไม่ว่าจะเป็นฟันที่ผุมากจนถึงชั้นโพรงประสาท, ฟันแตกฟันหักจากอุบัติเหตุและไม่สามารถซ่อมแซมได้, ฟันน้ำนมที่ไม่ยอมหลุดออกเอาตามช่วงวัย, ฟันคุดที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้, มีพยาธิบริเวณกระดูกรอบ ๆ รากฟัน มีฟันเกินงอกขึ้นมาแต่ไม่เรียงเป็นระเบียบ หรือแม้แต่ฟันที่ต้องถอนเพื่อให้การจัดฟันง่ายขึ้น สำหรับการถอนฟันนั้นไม่เจ็บอย่างที่คิดค่ะ เพราะคุณหมอจะทาและฉีดยาชาก่อนถอนฟันเสมอ จากนั้นคุณหมอจึงใช้เครื่องมือเพื่อโยกฟันทีละน้อยจนฟันซี่นั้นหลุดออกมา แล้วค่อยให้คนไข้กัดผ้าก๊อซฆ่าเชื้อประมาณ 30 นาทีจนกว่าเลือดจะหยุดไหล หลังจากการถอนฟันจะมีอาการปวดตามมา แต่หากคนไข้ดูแลสุขภาพช่องปากตามคำแนะนำของคุณหมอ อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ และหายสนิทภายใน 1 เดือน
3. อุดฟัน
เป็นวิธีการรักษาฟันที่ผุจนเป็นโพรงหรือเป็นรูด้วยการใช้เครื่องมือหรือเลเซอร์เพื่อเติมเต็มวัสดุอุดฟันไปยังบริเวณที่มีรู ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียเข้าไปและทำลายฟันให้ผุเพิ่มไปมากกว่านี้ โดยคุณหมอจะใช้อมัลกัม (Amalgam) คอมโพสิตเรซิ่น (Composite Resin) หรือวัสดุอุดฟันทำจากเงิน ทอง หรือโลหะปรอทในการอุดฟัน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคุณหมอ หลังการรักษาอาจมีอาการปวดหรือเสียวฟันบ้าง จึงไม่ควรใช้ฟันที่ซี่อุดมาบดเคี้ยวอาหาร โดยอาการจะค่อย ๆ ทุเลาลงภายใน 24 ชั่วโมงและหายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับการดูแลของคนไข้ค่ะ
4. ผ่าฟันคุด
เป็นการผ่าตัดเพื่อนำฟันคุดหรือฟันกรามซี่ที่ 3 ที่อยู่ใต้เหงือก หรืองอกออกมาพ้นเหงือกแล้วแต่ขึ้นไม่หมดทั้งซี่ออกมาจากช่องปาก โดยคุณหมอจะทายาชาเฉพาะที่ป้ายและฉีดไปยังบริเวณที่ผ่าฟันคุดจนกว่ารู้สึกชาแล้วคุณหมอจะเปิดเหงือกเพื่อหากระดูกที่ฟันคุดฝังตัวอยู่ หากเป็นฟันคุดที่ฝังตัวอยู่ในกระดูก คุณหมอจะกรอกระดูกบริเวณที่คลุมฟันคุดและตัดแบ่งฟันซี่นั้นออกมาเป็นชิ้น ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการนำฟันออกมา แต่หากเป็นฟันคุดที่งอกขึ้นมาเพียงบางส่วนหรือโผล่พ้นเหงือกออกมาเต็มซี่ คุณหมอจะถอนฟันคุดออกแทนเพื่อลดอาการเจ็บปวดหลังการรักษาค่ะ เนื่องจากการผ่าฟันคุดเป็นการรักษาที่ทั้งเจ็บและทรมานอย่างน้อย 3-5 วัน แต่จะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ค่ะ
5. รักษารากฟัน
เป็นการกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่อยู่บริเวณโพรงประสาทฟันที่อักเสบหรือติดเชื้อ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้ฟันตายในอนาคต โดยคุณหมอจะใช้แผ่น Rubber dam ในการแยกฟันซี่ที่มีปัญหาออกจากฟันซี่ข้าง ๆ จากนั้นจึงกรอฟันเพื่อเปิดช่องและนำเนื้อเยื่อหรือเส้นประสาทฟันที่ติดเชื้อออกมาแล้วค่อยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดคลองรากฟัน เมื่อทำความสะอาดเสร็จคุณหมอจะอุดปิดคลองรากฟันและอุดฟันหรือครอบฟันเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำและบูรณะตัวฟันให้แข็งแรงและสวยงาม สามารถใช้งานได้ตามปกติเหมือนฟันซี่อื่น วิธีการรักษาประเภทนี้เหมาะสำหรับคนไข้ที่ตรวจพบว่าชื้อแบคทีเรียกินเนื้อฟันไม่มากเกินกว่าการรักษา สามารถเก็บฟันซี่นั้นไว้ใช้งานได้ต่อไปเท่านั้น แต่หากเกิดการติดเชื้อในโพรงประสาทฟันมากเกินไป ไม่สามารถใช้งานฟันซี่นั้นได้อีกต่อไป คุณหมอจะถอนฟันแทนการรักษารากฟันค่ะ สำหรับอาการปวดหลังการรักษาจะค่อย ๆ ทุเลาภายใน 1-3 วัน
ขั้นตอนการเคลียร์ช่องปากมีอะไรบ้าง
ขั้นตอนแรกคุณหมอจะตรวจสุขภาพช่องปากโดยรวมอย่างละเอียดด้วยการเอกซเรย์ฟัน (Dental X-ray) เพื่อตรวจดูความผิดปกติของฟันทุกซี่ เพราะการเอกซเรย์จะช่วยให้คุณหมอเห็นโครงสร้างของฟันที่อยู่พ้นเหงือกและฟันที่อยู่ใต้เหงือก ซึ่งใช้ในการประเมินอาการและวางแผนการรักษาฟันที่ผิดปกติ จากนั้นจึงทำพิมพ์ปากด้วยปูนชนิดพิเศษเพื่อจำลองลักษณะฟันทุกซี่ทั้งบนและล่าง โดยขนาดของฟันจำลองจะเท่ากับฟันจริงทุกประการ แล้วจึงเคลียร์ทุกปัญหาช่องปากและติดเครื่องมือจัดฟันตามแผนการรักษาของคุณหมอ จากนั้นคุณหมอจะนัดปรับเครื่องมือตามชนิดของเครื่องมือ
Q&A คำถามที่พบบ่อย
เคลียร์ช่องปากเจ็บไหม
ขึ้นอยู่กับปัญหาที่ต้องรักษาค่ะ สำหรับวิธีที่เจ็บที่สุดจะเป็นการผ่าตัดคุดค่ะ โดยอาการเจ็บจะเกิดขึ้นหลังจากการผ่าตัดค่ะ ส่วนในช่วงระหว่างผ่าตัดคนไข้จะไม่รู้สึกเจ็บใด ๆ เนื่องจากคุณหมอจะฉีดยาชาเฉพาะที่ก่อนผ่าตัดทุกครั้ง สำหรับอาการเจ็บหลังผ่าฟันคุดจะมาพร้อมอาการปวดบวมบริเวณแก้มข้างที่ผ่าตัด แต่จะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ทั้งนี้หมอณัฐขอแนะนำให้ทานยาแก้ปวดและยาอะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin) ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อหลังการผ่าตัด ในช่วงนี้หากอยากให้แผลหายไวแนะนำให้ทานอาหารอ่อน งดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และที่สำคัญหากพบความผิดปกติ เช่น มีอาการชาริมฝีปากนานเกินไป อาการปวดไม่ทุเลาแม้จะผ่านมาแล้ว 1 สัปดาห์ก็ตาม หรือรู้สึกปวดแผลมากกว่าเดิม ให้รีบกลับมาพบคุณหมอโดยเร็วที่สุดค่ะ ส่วนวิธีอื่น ๆ อาจเจ็บปวดบ้างเล็กน้อย แต่ไม่ได้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันมากเท่าไหร่นัก
ไม่จัดฟันเคลียร์ช่องปากได้ไหม
ได้ค่ะ เพราะการเคลียร์ช่องปากเป็นการดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการแปรงฟัน, ขัดไหม หรือบ้วนน้ำยาบ้วนปาก เนื่องจากแต่ละคนมีปัญหาสุขภาพช่องปากที่แตกต่างกัน บางคนอาจมีฟันเรียงสวยอยู่แล้วแต่มีฟันคุดที่ทำความสะอาดยาก คุณหมอจะแนะนำให้ถอนออกเพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบ นอกจากนี้หากคุณไม่มีปัญหาฟันเลยแต่ยังไงก็ต้องเข้ารับการขูดหินปูนเป็นประจำอยู่ดีค่ะ เพราะไม่มีผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องปากชนิดไหนที่สามารถทำความสะอาดหินปูนได้ดีไปกว่าเครื่องมือทันตกรรมแล้วล่ะค่ะ
จัดฟัน ไม่เคลียร์ช่องปากได้ไหม
ไม่ได้เด็ดขาดค่ะ เพราะการเคลียร์ช่องปากจะช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างจัดฟัน หากคนไข้ติดเครื่องมือจัดฟันแล้วแต่ยังไม่ได้แก้ปัญหาช่องปากที่เป็นอยู่ก่อนหน้านี้ เช่น มีหินปูนสะสมจำนวนมากติดตามฟัน, ฟันคุดที่โผล่ไม่พ้นเหงือก, กระดูกฟันละลาย ฯลฯ อาจทำให้ปัญหาเหล่านั้นทวีความรุนแรงและดูแลยากกว่าเดิมด้วยค่ะ
เคลียร์ช่องปากใช้เวลานานไหม
แล้วแต่กรณีค่ะ หากคนไข้มีปัญหาช่องปากเพียงเล็กน้อย เช่น ฟันเรียงตัวไม่เป็นระเบียบแต่ฟันคุดที่มีไม่ได้เป็นปัญหาต่อการจัดฟัน บางคนอาจมีความจำเป็นในการถอนฟันเพียงซี่เดียว ก็อาจใช้ระยะเวลาในการเคลียร์ช่องปากไม่ถึง 2 สัปดาห์ หรือบางคนมีเพียงขูดหินปูนเพียงอย่างเดียว ก็ดำเนินการขูดหินปูนแล้วจึงติดเครื่องมือจัดฟันได้เลย แต่หากคนไข้มีปัญหาช่องปากเยอะ เช่น มีฟันซ้อนเกและมีฟันคุดใต้เหงือก มีฟันเกิน มีหินปูนจำนวนมาก ก็อาจใช้เวลานานถึง 1 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการนัดพบคุณหมอด้วยนะคะ แต่หมอณัฐขอแนะนำให้รีบเคลียร์ช่องปากโดยเร็วที่สุดค่ะ เพราะหากปล่อยไว้นานอาจเพิ่มปัญหาช่องปากอื่น ๆ ตามมาด้วยนะคะ โดยเฉพาะคนที่จำเป็นต้องถอนฟันซึ่งจะทำใหเกิดช่องว่างระหว่างฟัน ทำให้ฟันบริเวณใกล้เคียงเคลื่อนตัวและมีโอกาสล้มง่ายขึ้นค่ะ
เคลียร์ช่องปากก่อนจัดฟันกี่บาท
สำหรับบริการเคลียร์ช่องปากจาก Tooth Luck Dental Clinic มีเรทราคาตามบริการประเภทต่าง ๆ ดังนี้
1. ขูดหินปูน
ขูดหินปูน 800-1,500 บาท
2. ฟอกสีฟัน
- ฟอกสีฟัน 3,990 บาท
- ฟอกสีฟัน+ขูดหินปูน 4,590 บาท
- ฟอกสีฟัน+ขูดหินปูน+ตรวจวางแผนรักษาอย่างละเอียด+ X-ray Films 4,990 บาท
3. ถอนฟัน
- ถอนฟัน 500-900 บาท
- ถอนฟันยาก (กรอแบ่งฟัน/กรอกระดูก) 1,200-1,500 บาท
- ถอนฟันคุด 1,200-1,500 บาท
- ถอนฟันน้ำนม (เด็ก) 500 บาท
4. อุดฟัน
- อุดฟัน (สีเหมือนฟัน) เริ่มต้น 700 บาท
- อุดฟัน 1 ด้าน 700-900 บาท
- อุดฟัน 2 ด้าน 1,100-1,300 บาท
- อุดฟัน 3 ด้าน 1,500-1,700 บาท
- อุดฟันชั่วคราว 500 บาท
- อุดปิดช่องว่างฟันหน้า 3,000 บาท
5. รักษารากฟันหน้า
- รักษารากฟันหน้า 4,000-6,000 บาท
- รักษารากฟันกรามน้อย 6,000-8,000 บาท
- รักษารากฟันกราม 8,000-12,000 บาท
เคลียร์ช่องปากกี่วันได้ใส่เหล็ก
ขั้นอยู่กับสุขภาพช่องปากของคนไข้ค่ะ หากแก้ปัญหาช่องปากในเบื้องต้นได้เรียบร้อยแล้วก็สามารถจัดฟันได้เลยค่ะ
ดูแลช่องปากอย่างไรให้จัดฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ทานยาแก้ปวดพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการจากเครื่องมือจัดฟัน
- รับประทานอาหารที่ไม่แข็งหรือเหนียวจนเกินไปเพื่อป้องกันฟันเสื่อมสภาพไวขึ้น
- ทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธีและถี่ขึ้น เนื่องจากเครื่องมือจัดฟันอาจเป็นแหล่งสะสมของเศษอาหารง่ายขึ้น หมอณัฐขอแนะนำให้แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันทุกครั้งหลังมื้ออาหาร หรือทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมเสี่ยงที่ทำให้ฟันได้รับความเสียหาย เช่น ใช้ฟันเปิดขวด, นอนกัดฟัน หรือเล่นกีฬาที่เสี่ยงต่อการปะทะสูง หากจำเป็นจริง ๆ แนะนำให้ใส่เฝือกสบฟัน (Occlusal splint) ทุกครั้งก่อนนอนหรือเล่นกีฬา
- พบคุณหมอตามนัดทุกครั้ง หากมีเหตุจำเป็นให้รีบพบในภายหลังโดยเร็วที่สุด
- หากพบความผิดปกติภายในช่องปาก ให้รีบเข้าพบคุณหมอทันที
จัดฟันที่ไหนดี
หากคุณมีปัญหาช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นฟันซ้อนฟันเก ฟันห่าง ฟันสบผิดปกติ เรา Tooth Luck Detal Clinic เป็นคลินิกทันตกรรมสำหรับเด็กและทุกคนในครอบครัว เรามีทีมทันตแพทย์พร้อมให้บริการทันตกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นจัดฟัน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด ฟอกสีฟัน ขูดหินปูน อุดฟัน รักษารากฟัน รากฟันเทียม วีเนียร์ ฟันปลอม และบริการทันตกรรมสำหรับเด็ก มาพร้อมเครื่องมือที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน และครบครัน ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก ๆ และชาวจังหวัดขอนแก่นอย่างแท้จริง
อุดฟันหน้าเจ็บมั้ย อยู่ได้นานแค่ไหน ดูแลอย่างไรให้ฟันแข็งแรง
แม้ว่าฟันจะขึ้นชื่อในเรื่องของความแข็งแรง หากดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสมก็อาจทำให้ฟันอยู่คู่กับช่องปากของเราไปได้ตลอดชีวิตเลยทีเดียว [...]
จัดฟันซ้อนเก มีเขี้ยว ใช้เวลานานไหม จัดฟันแบบไหนช่วยได้บ้าง
ฟันซ้อนเก มีเขี้ยว [...]
ปักหมุดจัดฟันคืออะไร เจ็บไหม เหมาะกับปัญหาฟันแบบไหน
จริงอยู่ที่การจัดฟันจะเน้นการใช้เครื่องมือจัดฟันเป็นหลัก แต่หากคนไข้มีปัญหาฟันเรียงตัวผิดปกติบางประเภทก็อาจจำเป็นต้องใช้หมุดจัดฟันเข้าร่วมด้วย [...]
รากฟันเทียมหลุด เกิดจากอะไร มีวิธีดูแลและป้องกันอย่างไร
แม้ว่าคุณจะเคยผ่านการทำรากฟันเทียมมาแล้ว แต่หากวันนึงรากฟันเทียมเกิดหลุดขึ้นมาก็อาจทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจเป็นอย่างมาก [...]
ขี้ผึ้งจัดฟัน คืออะไร ทำไมคนจัดฟันต้องพกติดตัวไว้
เมื่อเริ่มจัดฟันแล้วคุณหมอจะให้ขี้ผึ้งจัดฟันเอาไว้ทาบนเครื่องมือจัดฟัน ว่าแต่ทำไมต้องเป็นขี้ผึ้งด้วย [...]
จัดฟันเหงือกบวม หายเองได้หรือไม่ แก้ยังไงดี
แม้ว่าการจัดฟันจะช่วยแก้ปัญหาฟันเรียงไม่เป็นระเบียบที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพฟันตามมาได้ แต่ในช่วงระหว่างการจัดฟันนั้นคนไข้อาจต้องรับมือกับความผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นภายในปาก [...]