หลายคนอาจรู้สึกปวดฟันทุกครั้งที่ตื่นนอน กินอะไรก็ปวดไปหมดทั้งปาก รู้หรือไม่ว่าภาวะดังกล่าวอาจเกิดจากอาการนอนกัดฟันที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ว่าแต่สาเหตุเกิดจากอะไร หายเองได้ไหม มีวิธีรักษาและป้องกันภาวะดังกล่าวยังไงไม่ให้เกิดขึ้นอีก วันนี้หมอณัฐจะมาเล่าให้ฟังค่ะ
นอนกัดฟันคืออะไร
เป็นอาการผิดปกติที่ผู้ป่วยจะกัดฟันขณะนอนหลับโดยเกิดจากระบบบดเคี้ยวทำงานผิดปกติ ส่งผลให้กล้ามเนื้อที่ใช้บดเคี้ยวอาหารมีการหดตัวและเกิดการกัดฟันขึ้นมาโดยไม่รู้สึกตัว เมื่อตื่นนอนขึ้นมาผู้ป่วยจะรู้สึกปวดข้อต่อกระดูกขากรรไกร ปวดกล้ามเนื้อหรือหน้าใบหู รู้สึกปวดขณะบดเคี้ยวอาหารหรือเสียวฟันเวลาทานของหวาน ดื่มน้ำร้อนหรือน้ำเย็นจัด หากปล่อยไว้นานอาจทำให้ฟันสึกลึกจนเห็นชั้นเนื้อฟันสีเหลืองเข้ม การนอนกัดฟันแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ การนอนกัดฟันแบบไม่มีเสียง เป็นการกัดฟันแน่น ไม่ถูฟันไปมา และการนอนกัดฟันแบบมีเสียง เป็นการกัดฟันขบฟันแน่น ๆ หรือตัวฟันบนและฟันล่างถูไปมาจนเกิดเสียงกัดฟัน โดยคุณอาจนอนได้มากถึง 80-100 ครั้ง/คืน
สาเหตุของการนอนกัดฟัน
- พันธุกรรม
- อายุ หากอยู่ในช่วงเด็กอาจนอนกัดฟันง่ายกว่าผู้ใหญ่
- มีปัญหาภายในช่องปาก เช่น ฟันโยก ฟันซ้อนเก โรคปริทันต์อักเสบ
- คนไข้ใส่ฟันปลอมที่มีการสบฟันไม่สัมพันธ์กับฟันธรรมชาติ
- เป็นผู้ป่วยโรคที่ทำให้กล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ เช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)
- เป็นผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติขณะนอนหลับ เช่น นอนกรน หยุดหายใจขณะนอนหลับ
- ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาปรับสารในสมอง เช่น ยาเอสเอสอาร์ไอ (SSRI)
- ภาวะความเครียดสะสม
- การรับประทานอาหารที่มีสารกระตุ้น เช่น คาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มากกว่า 6 แก้วต่อวัน
- สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- การจัดฟันในช่วงแรก เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการเคลื่อนของฟันและทำให้การสบฟันยังไม่เป็นปกติ
ผลเสียจากการนอนกัดฟัน
- ปวดเมื่อยแก้มหรือหน้าหูเมื่อตื่นนอน
- กรามข้าง ข้อต่อขากรรไกรขยับลำบาก
- รู้สึกเสียวฟันหรือปวดฟันขณะรับประทานอาหาร
- อ้าปากลำบาก อาจรู้สึกเจ็บจนอ้าปากไม่ได้
- นอนหลับไม่สนิท นอนหลับไม่เพียงพอ
- ฟันสึก มีรอยบิ่น ฟันสั้นลง
- กระดูกกรามขยายใหญ่เป็นปุ่มกระดูกนูนในบางราย
- รู้สึกปวดศีรษะ
- รูปหน้าเปลี่ยนไป
- กรณีที่ใส่รากฟันเทียม จะทำให้รากเทียมแตกออกและต้องเปลี่ยนใหม่
จะรู้ได้อย่างไรว่านอนกัดฟัน
หากคุณมีอาการเจ็บปวดบริเวณขากรรไกร เจ็บแก้ม เจ็บใบหู หรือฟันดูสึกลง แสดงว่าคุณมีอาการนอนกัดฟัน นอกจากนี้ยังสามารถตรวจเช็กได้ด้วยวิธีทางการแพทย์อย่างการตรวจการนอน (Sleep Test) ตามสถานพยาบาลต่าง ๆ เพื่อตรวจดูการทำงานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวขณะนอนหลับ หรืออาจใช้แผ่นบรักเชคเกอร์ (Brux checker) ซึ่งเป็นเครื่องมือทดสอบการนอนกัดฟันขณะนอนหลับ
นอนกัดฟัน แก้ยังไงได้บ้าง
1. ใส่เฝือกสบฟัน (Occlusal Splint)
เป็นเครื่องมือทางทันตกรรมที่ใช้ในการรักษาปัญหานอนกัดฟัน เฝือกสบฟันจะมีลักษณะคล้ายรีเทนเนอร์ใสแต่จะคั่นกลางอยู่ระหว่างขากรรไกรบนและล่าง เฝือกสบฟันมีทั้งแบบชนิดอ่อน (Soft Splint) และชนิดแข็ง (Hard Splint) โดยทันตแพทย์จะให้คนไข้ใส่ขณะนอนหลับเพื่อลดความเสียหายจากการกัดฟัน ทั้งนี้ทันตแพทย์จะให้คนไข้ปรับการวางตำแหน่งของปากหรือขากรรไกรร่วมด้วยค่ะ
2. รักษาด้วยยา
มีทั้งการรักษาด้วยการทานยาคลายกล้ามเนื้อขณะนอนหลับ หรือฉีดโบท็อก (Botox) บริเวณกรามทั้ง 2 ข้างเพื่อให้กล้ามเนื้อกรามคลายตัวได้ประมาณ 2-3 เดือน แม้ว่าการฉีดโบท็อกจะช่วยให้ใบหน้าเข้ารูปได้ก็จริงแต่จะต้องฉีดเป็นประจำเพื่อคงผลลัพธ์การรักษาเอาไว้เรื่อย ๆ ค่ะ
3. ปรับพฤติกรรม
เนื่องจากความเครียดสะสมและพฤติกรรมเสี่ยงอย่างการสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้นอนกัดฟัน ดังนั้นหากคุณดูแลตัวเองให้ดี เลิกสูบบุหรี่เลิกแอลกอฮอล์ และจัดการความเครียดไม่ให้กระทบการใช้ชีวิตประจำวันมากเกินไป หาเวลาทำงานอดิเรกหรือทำกิจกรรมอื่นเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจไม่ให้จดจ่ออยู่กับความเครียดมากเกินไปก็จะทำให้ภาวะนอนกัดฟันทุเลาและหายไปเองค่ะ นอกจากนี้อาจใช้วิธีการรักษาทางการแพทย์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่าง Bio Feedback โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือที่มีเซนเซอร์กล้ามเนื้อกรามที่ส่งสัญญาณเป็นเสียงเพื่อให้คนไข้รู้สึกตัวและหยุดกัดกราม
นอนกัดฟัน จัดฟันได้ไหม
กรณีที่คุณมีความผิดปกติของฟัน เช่น ฟันซ้อนเก ฟันห่าง การจัดฟันจะช่วยรักษาปัญหานอนกัดฟันได้จริง เนื่องจากการจัดฟันเป็นวิธีที่ช่วยแก้ปัญหาฟันด้วยการปรับแต่งฟันภายในช่องปากให้กลับมาเรียงสวยเป็นระเบียบ ส่งผลให้การสบฟันกลับมาเป็นปกติและไม่ต้องกัดฟันระหว่างนอนอีกต่อไป แต่หากคุณเป็นโรคปริทันต์อักเสบและมีปัญหาฟันร่วมด้วย ทันตแพทย์จะทำการรักษาโรคให้หายก่อนแล้วจึงให้คนไข้จัดฟันได้ค่ะ
ป้องกันการนอนกัดฟันได้อย่างไรบ้าง
นอกจากจะลดละเลิกพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำร้ายสุขภาพอย่างการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้ว คุณจะต้องหลีกเลี่ยงการกัดสิ่งของแข็ง ๆ โดยไม่จำเป็น, สังเกตและพยายามอย่าให้ตัวเองอยู่ในภาวะเครียดเกินไป ปรับการนอนให้เพียงพอประมาณ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน รวมถึงเข้าพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือนด้วยนะคะ เพราะการเข้าพบแพทย์จะช่วยตรวจเช็กสุขภาพช่องปากทั้งหมดได้มากกว่าการมานั่งสังเกตด้วยตัวเอง ซึ่งไม่มีทางที่คุณจะสังเกตเห็นความผิดปกติภายในช่องปากได้ทั้งหมดค่ะ
บทความที่น่าสนใจ
- ใส่รากเทียมแล้วจัดฟันเลยได้ไหม ถ้าอยากจัดฟันต้องทำยังไงดี
- ฟันหมดปาก ทำรากฟันเทียมทั้งปากได้ไหม มีขั้นตอนยังไงบ้าง
- ฟันเป็นรู ปวดมาก อุดได้ไหม รักษายังไงดี หมอณัฐมีคำตอบ
จัดฟันที่ไหนดี ทำไมต้อง Toothluck Dental Clinic
หากคุณมีปัญหาช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นฟันซ้อนฟันเก ฟันห่าง ฟันสบผิดปกติ หรือกำลังมองหาคลินิกสำหรับดูแลฟัน เรา Tooth Luck Detal Clinic เป็นคลินิกทันตกรรมสำหรับเด็กและทุกคนในครอบครัว เรามีทีมทันตแพทย์พร้อมให้บริการทันตกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นจัดฟัน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด ฟอกสีฟัน ขูดหินปูน อุดฟัน รักษารากฟัน รากฟันเทียม วีเนียร์ ฟันปลอม และบริการทันตกรรมสำหรับเด็ก มาพร้อมเครื่องมือที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน และครบครัน ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก ๆ และชาวจังหวัดขอนแก่นอย่างแท้จริง
รีวิวจัดฟันกับ Tooth Luck dental clinic คลินิกทำฟัน จัดฟัน ขอนแก่น
อุดฟันหน้าเจ็บมั้ย อยู่ได้นานแค่ไหน ดูแลอย่างไรให้ฟันแข็งแรง
แม้ว่าฟันจะขึ้นชื่อในเรื่องของความแข็งแรง หากดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสมก็อาจทำให้ฟันอยู่คู่กับช่องปากของเราไปได้ตลอดชีวิตเลยทีเดียว [...]
จัดฟันซ้อนเก มีเขี้ยว ใช้เวลานานไหม จัดฟันแบบไหนช่วยได้บ้าง
ฟันซ้อนเก มีเขี้ยว [...]
ปักหมุดจัดฟันคืออะไร เจ็บไหม เหมาะกับปัญหาฟันแบบไหน
จริงอยู่ที่การจัดฟันจะเน้นการใช้เครื่องมือจัดฟันเป็นหลัก แต่หากคนไข้มีปัญหาฟันเรียงตัวผิดปกติบางประเภทก็อาจจำเป็นต้องใช้หมุดจัดฟันเข้าร่วมด้วย [...]
รากฟันเทียมหลุด เกิดจากอะไร มีวิธีดูแลและป้องกันอย่างไร
แม้ว่าคุณจะเคยผ่านการทำรากฟันเทียมมาแล้ว แต่หากวันนึงรากฟันเทียมเกิดหลุดขึ้นมาก็อาจทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจเป็นอย่างมาก [...]
ขี้ผึ้งจัดฟัน คืออะไร ทำไมคนจัดฟันต้องพกติดตัวไว้
เมื่อเริ่มจัดฟันแล้วคุณหมอจะให้ขี้ผึ้งจัดฟันเอาไว้ทาบนเครื่องมือจัดฟัน ว่าแต่ทำไมต้องเป็นขี้ผึ้งด้วย [...]
จัดฟันเหงือกบวม หายเองได้หรือไม่ แก้ยังไงดี
แม้ว่าการจัดฟันจะช่วยแก้ปัญหาฟันเรียงไม่เป็นระเบียบที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพฟันตามมาได้ แต่ในช่วงระหว่างการจัดฟันนั้นคนไข้อาจต้องรับมือกับความผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นภายในปาก [...]