เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 17 – 25 ปี หลายคนคนอาจสังเกตเห็นว่ามีฟันซี่หนึ่งที่งอกขึ้นมาแตกต่างจากซี่อื่นนั่นก็คือฟันคุด เป็นฟันซี่ที่ทำความสะอาดยากมาก หากปล่อยไว้นานอาจสร้างความเจ็บปวดให้แก่คุณเป็นอย่างมากจนทำให้ใครหลายคนตัดสินใจถอนฟันซี่นี้เพื่อบรรเทาอาการปวด รู้หรือไม่ว่าฟันคุดเกิดจากอะไร ถ้าจะรักษาด้วยการถอนฟันคุดออกนั้นยากไหม มีวิธีดูแลรักษาอย่างไรหลังการผ่าตัด วันนี้หมอณัฐมีคำตอบค่ะ
ฟันคุดคืออะไร
เป็นฟันซี่ที่ไม่สามารถงอกขึ้นมาได้เป็นปกติ อาจงอกขึ้นมาเพียงบางส่วน หรือไม่สามารถงอกขึ้นมาพ้นเหงือกและฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร ฟันซี่ที่เป็นฟันคุดบ่อยที่สุดจะเป็นฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อย ซึ่งอยู่ภายในสุดของช่องปากหรืออยู่ด้านหลังสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง คนไข้หลายคนอาจมีฟันคุดซี่ที่เอียง นอน หรืออยู่ชิดกับฟันซี่ข้างเคียง
ฟันคุดมีกี่แบบ อะไรบ้าง
- Distoangular impaction ลักษณะของฟันจะล้มเอียงออกจากฟันกรามแท้ซี่ที่ 2 ส่วนของกระดูกกรามจึงเข้าไปขวางและทำให้ฟันงอกขึ้นมาได้ไม่เต็มซี่ กรณีที่เป็นฟันคุดล่างจะเป็นฟันที่ผ่าตัดออกยากกว่าฟันซี่อื่น
- Horizontal impaction ลักษณะของฟันจะงอกขึ้นมาไม่ได้และมีฟันล้มในแนวนอน โดยฟันคุดล่างจะเป็นฟันที่ผ่าออกยาก
- Inverted impaction ลักษณะของฟันจะงอกกลับหัว โดยตัวฟันหันจะลงด้านล่างและรากฟันจะงอกขึ้นทางด้านบนแทน จัดเป็นฟันคุดที่พบได้น้อยที่สุดในบรรดาฟันคุดทั้งหมด
- Mesioangular impaction เป็นฟันคุดที่พบบ่อยที่สุด ลักษณะของฟันจะล้มเอียงเข้าหาฟันกรามแท้ซี่ที่ 2 ทำให้ฟันงอกขึ้นมาได้ไม่เต็มซี่
- Vertical impaction ลักษณะของฟันจะฟันคุดที่ขึ้นตรง แต่ในคนไข้บางรายอาจจะงอกขึ้นมาไม่ได้ เนื่องจากมีเหงือกหนาคลุมเอาไว้ ส่งผลให้คนไข้ปวดฟันและฟันอักเสบ จำเป็นต้องผ่าออก
ลักษณะของฟันคุดตามรูปแบบการขึ้นของฟัน
- Bony impaction เป็นฟันคุดที่อยู่ภายในกระดูกทั้งหมด
- Partial bony impaction เป็นฟันคุดที่งอกขึ้นมาเพียงบางส่วน แต่อีกส่วนของฟันยังคงอยู่ในกระดูก ไม่สามารถงอกขึ้นได้เต็มซี่เนื่องจากตัวฟันเอียงในลักษณะต่างๆ
- Soft tissue impaction เป็ฯฟันคุดที่งอกขึ้นมาจากกระดูกได้แต่ยังมีเหงือกคลุมเอาไว้เพียงบางส่วน
ข้อเสียของฟันคุด
- สร้างความลำบากในการใช้ชีวิต เช่น บดเคี้ยวอาหารยาก ปวดฟันขณะนอนหลับ แปรงฟันลำบาก
- เนื้อเยื่อรอบฟันจะเกิดการอักเสบและเกิดอาการบวมหรือปวดบริเวณนอกฟัน
- เชื้อแบคทีเรียในฟันคุดจะกระจายไปสู่ฟันอื่นและเกิดการติดเชื้อ
- หากปล่อยไว้นานอาจรักษาปัญหาฟันยากขึ้น
- เสี่ยงต่อการสูญเสียฟันซี่อื่น
อาการฟันคุดมีอะไรบ้าง
- ปวดฟันมากแต่ไม่รู้ว่าปวดฟันซี่ไหน
- ปวดเหงือก เป็นหนองจากเหงือกอักเสบ
- เกิดฟันซ้อนเกจากฟันคุดเข้ามาเบียดพื้นที่ฟัน
- เกิดช่องว่างระหว่างฟันเมื่อเหงือกบวม ส่งผลให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตและทำให้ฟันผุง่ายขึ้น
- มีเศษอาหารติดตามซอกฟันง่ายแต่ทำความสะอาดยากจนทำให้ฟันผุ
- บางรายอาจปวดร้าวขึ้นไปถึงเบ้าตา ขมับ ใบหน้า หู จนถึงขั้นปวดศีรษะ
ทำไมต้องถอนฟันคุด
- ถ้าฟันคุดงอกออกมาไม่ได้ อาจทำให้ฟันกรามติดอยู่ในขากรรไกรและเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรืออาจเกิดถุงน้ำทำลายรากฟัน หรือกระดูกฟันซี่อื่น
- ป้องกันฟันคุดที่สร้างความเจ็บปวดบริเวณโพรงไซนัส
- ป้องกันเหงือกอักเสบบริเวณที่ปกคลุมฟันจากเศษอาหารที่ติดอยู่ใต้เหงือกและทำความสะอาดพื้นที่บริเวณนั้นไม่ได้
- ป้องกันการละลายตัวของกระดูกที่เกิดจากแรงดันจากฟันคุดที่เข้าไปทำลายกระดูกรอบรากฟัน
- ป้องกันฟันข้างเคียงเกิดการผุ เนื่องจากซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ที่ 2 เป็นซี่ที่ทำความสะอาดยาก
- ป้องกันการเกิดถุงน้ำหรือเนื้องอกในฟันคุดที่อาจทำลายกระดูกหรือฟันซี่ข้างเคียง
- ป้องกันกระดูกขากรรไกรหักจากภาวะฟันคุดที่เข้าไปทำลายกระดูกบริเวณนั้นให้อ่อนตัวลงและเสี่ยงต่อการบาดเจ็บง่าย
- ช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดฟันให้เข้าที่ตามแผนการรักษามากยิ่งขึ้น
เตรียมตัวอย่างไรก่อนถอนฟันคุด
- คุณหมอจะประเมินสุขภาพโดยรวมของคนไข้ ทั้งโรคประจำตัวหรือประวัติการแพ้ยา เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนระหว่างการรักษา
- คุณหมอจะ X-ray ตรวจหาตำแหน่งและลักษณะทั้งหมดของฟันคุดเพื่อประเมินความยากง่ายในการผ่าตัด จากนั้นจึงเตรียมเครื่องมือสำหรับการผ่าฟันคุด
- ก่อนเข้ารับการผ่าตัด คุณหมอแนะนำให้คนไข้รักษาสุขภาพช่องปากให้สะอาดพร้อมก่อนผ่าตัดด้วยการแปรงฟันอย่างถูกวิธี ใช้ไหมขัดฟัน และบ้วนน้ำยาบ้วนปากก่อนหรือหลังแปรงฟันทุกครั้ง
- ก่อนเข้ารับการผ่าตัด คนไข้จะต้องทานแต่อาหารอ่อนเพื่อป้องกันอาการเจ็บปวดหลังการผ่าตัด
ขั้นตอนการถอนฟันคุด
ก่อนการผ่าตัดคุณหมอจะฉีดยาชาเฉพาะที่เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดขณะผ่าตัดและผ่าตัดเหงือกที่คลุมฟันคุดอยู่ออกเล็กน้อย เมื่อยาชาออกฤทธิ์แล้วคุณหมอจะใช้เครื่องมือทางการแพทย์ในการงัดหรือคีบถอนเอาฟันคุดออกมา (ในคนไข้บางรายอาจต้องกรอกระดูกที่คลุมตัวฟันคุดอยู่ออกมาก่อนร่วมด้วย) เมื่อฟันคุดออกแล้วคุณหมอจะเย็บปิดปากแผล หลังจากที่ทันตแพทย์เอาออกหมดแล้วก็จะทำการล้างน้ำแล้วทำการล้างทำความสะอาดบาดแผล หลังจากนั้นคุณหมอจะเย็บปิดปากแผลให้เรียบร้อย หลังจากนั้นคนไข้สามารถกลับบ้านได้ทันทีโดยไม่ต้องพักฟื้นแต่อย่างใด
วิธีดูแลตัวเองหลังถอนฟันคุด
- ประคบเย็นด้วยผ้าขนหนูห่อน้ำแข็งหรือห่อถุงเย็นอย่างน้อย 30 นาทีหลังการผ่าตัดเพื่อบรรเทาอาการปวด
- หากอาการปวดไม่ทุเลา แนะนำให้ประคบนอกปากจากใบหูไปจนถึงใต้คางข้างบริเวณที่ผ่าตัดเป็นเวลา 1 วัน เมื่อเข้าสู่วันที่ 2 ให้เปลี่ยนเป็นประคบน้ำอุ่นแทน
- กัดผ้าก๊อซอย่างน้อยประมาณ 30 นาทีเพื่อให้เลือดหยุดไหล ระหว่างนั้นให้กลืนเลือดและน้ำลายไว้เพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้
- สำหรับการทำความสะอาดช่องปาก สามารถแปรงฟันได้ตามปกติ แต่ต้องแปรงไม่ให้โดนบาดแผล ห้ามใช้ลิ้นดุ้นหรือใช้วัสดุใดมาสัมผัสบริเวณแผลเพื่อป้องกันการอักเสบของแผล
- ไม่บ้วนน้ำด้วยน้ำสะอาดและน้ำยาบ้วนปากเป็นเวลา 12 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด เนื่องจากการบ้วนปากจะกระตุ้นให้เลือดออก
- งดสูบบุหรี่และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือการออกกำลังกายหักโหมอย่างน้อย 1 สัปดาห์เพื่อป้องกันแผลหายยาก
- รับประทานอาหารอ่อน หลีกเลี่ยงอาหารแข็งหรือเหนียว และมีรสจัดในช่วง 2 – 3 วันแรก
Q&A คำถามที่พบบ่อย
ผ่าฟันคุดกินอะไรได้บ้าง
หมอณัฐแนะนำให้ทานอาหารอ่อน รสไม่จัด ไม่เผ็ดร้อน และผ่านการย่อให้เล็กลงด้วยการสับ บด หรือปรุงสุกแล้วเพื่อป้องกันไม่ให้แผลอักเสบ ทานอย่างน้อยเป็นเวลา 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าแผลจะหาย โดยเมนูแนะนำได้แก่ ซุปไข่ ข้าวต้มปลา โจ๊กหมูสับ แกงจืดสาหร่าย นมวัว โยเกิร์ตรสธรรมชาติ เป็นต้น
ผ่าฟันคุดห้ามกินอะไร
หมอณัฐแนะนำให้งดทานอาหารรสจัดหรือเผ็ดจัดอย่างส้มตำหรือต้มยำเพราะอาจทำให้แผลระคายเคืองง่ายและแผลหายยาก รวมถึงอาหารแข็ง เคี้ยวยากอย่างหมูกรอบหรือเนื้อวัวทอด นอกจากนี้ยังรวมไปถึงอาหารที่ปรุงแบบกึ่งสุกกึ่งดิบอย่างอาหารหมักดองและอาหารทะเล เนื่องจากเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่ายกว่าอาหารที่ผ่านการปรุงสุกมาเรียบร้อยแล้ว และที่สำคัญเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดก็ควรงดเช่นกันค่ะ เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้จะกระตุ้นให้หลอดเลือดขยายตัว เลือดจึงไหลออกจากแผลง่ายแต่หยุดไหลยาก เป็นเหตุให้แผลหายช้านั่นเองค่ะ
ผ่าฟันคุด ปวดกี่วัน
โดยทั่วไปแล้วอาการปวดหลังผ่าฟันคุดอาจเกิดขึ้นได้ทันทีหรือหลังจากผ่าตัดไปแล้วประมาณ 3 – 5 วัน แต่หากคนไข้ดูแลแผลตามคำแนะนำของคุณหมอแล้วอาจใช้เวลารักษาเพียง 2 สัปดาห์เท่านั้นค่ะ
ผ่าฟันคุดเจ็บไหม
หากพูดถึงความเจ็บปวดระหว่างรักษานั้นไม่มีแน่นอนเพราะคุณหมอจะทาหรือฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณเหงือกของฟันซี่ที่จะผ่าออก เพื่อบรรรเทาอาการเจ็บ แต่อาการปวดจะมาหลังการรักษาค่ะ ทั้งนี้คนไข้ควรเตรียมใจและปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัดเพื่อให้แผลหายไวขึ้นนั่นเองค่ะ
ถอนฟันคุดยากไหม แตกต่างจากถอนฟันทั่วไปอย่างไร
ขึ้นอยู่กับฟันซี่ที่มีปัญหา แต่ถ้าฟันคุดที่มีปัญหาเป็นฟันกรามซี่ในสุดที่ไม่ได้งอกขึ้นมาพ้นเหงือกได้ คุณหมอจะต้องผ่าฟันคุดออก ซึ่งเป็นการรักษาการขั้นตอนที่ยากกว่าการถอนฟันทั่วไป โดยคุณหมอจะต้องผ่าตัดเปิดเหงือก, กรอกระดูก หรือแบ่งฟันเป็นชิ้นเล็ก ๆ และเย็บแผลร่วมด้วยค่ะ
ถอนฟันคุดที่ไหนดี
หากคุณมีปัญหาช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นฟันซ้อนฟันเก ฟันห่าง ฟันสบผิดปกติ หรือกำลังมองหาคลินิกสำหรับถอนฟันคุด เรา Tooth Luck Detal Clinic เป็นคลินิกทันตกรรมสำหรับเด็กและทุกคนในครอบครัว เรามีทีมทันตแพทย์พร้อมให้บริการทันตกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นจัดฟัน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด ฟอกสีฟัน ขูดหินปูน อุดฟัน รักษารากฟัน รากฟันเทียม วีเนียร์ ฟันปลอม และบริการทันตกรรมสำหรับเด็ก มาพร้อมเครื่องมือที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน และครบครัน ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก ๆ และชาวจังหวัดขอนแก่นอย่างแท้จริง
รีวิวจัดฟันใส Invisalign กับ Tooth Luck dental clinic คลินิกทำฟัน จัดฟัน ขอนแก่น
บทความที่น่าสนใจ
- รากฟันอักเสบเกิดจากอะไร ทำไมต้องรีบรักษาโดยเร็วที่สุด
- อย่าปล่อยให้ฟันผุทะลุโพรงประสาท ทำร้ายสุขภาพช่องปากในระยะยาว
- ฟันหัก ซ่อมได้ไหม ดูแลอย่างไรให้ฟันกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง
ฟันผุทั้งปาก จัดฟันได้ไหม ดูแลช่องปากอย่างไรไม่ให้บานปลาย
นอกจากจะมีผลต่อความมั่นใจเวลายิ้มหรือพูดคุยกับคนอื่นแล้ว ฟันผุทั้งปากยังมีผลเสียอื่นๆ [...]
ฟันยื่นเกิดจากอะไร จัดฟันแก้ได้ไหม ใช้เวลารักษานานหรือไม่
ฟันยื่นเป็นปัญหาช่องปากที่หลายคนพบเจอและส่งผลต่อความมั่นใจเวลาพูดคุยกับผู้อื่น หลายคนอาจกังวลว่าถ้าปล่อยไว้นานจะเป็นผลเสียในระยะยาวหรือไม่ [...]
ไม่อยากมีปัญหาช่องปาก ต้องทำความสะอาดด้วยแปรงซอกฟัน
หลายคนอาจคิดว่าการแปรงฟันเพียงวันละ 2 [...]
เฝือกสบฟันคืออะไร ทำไมถึงป้องกันปัญหาปวดฟันและฟันสึกได้ดี
หากคุณรู้สึกปวดเมื่อยแก้มหรือหน้าหูหลังตื่นนอนหรือรู้สึกปวดฟันขณะรับประทานอาหาร นี่เป็นสัญญาณหนึ่งที่กำลังบอกว่าคุณกำลังประสบภาวะนอนกัดฟันที่หากปล่อยไว้นาน [...]
น้ำยาบ้วนปากคนจัดฟัน เลือกแบบไหนให้ปลอดภัย ไม่ทำร้ายช่องปาก
การดูแลตัวเองหลังปรับเครื่องมือเป็นสิ่งสำคัญที่คนไข้จัดฟันต้องปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด หากคนไข้ดูแลตัวเองไม่ดีพอ [...]
รวมสาเหตุที่ทำให้ลวดจัดฟันงอ เพื่อการป้องกันที่ดียิ่งขึ้น
โดยทั่วไปแล้วหมอฟันจะนัดให้เราเข้าไปเปลี่ยนลวดตามระยะเวลาที่กำหนด แต่สำหรับใครที่จัดฟันไปได้สักพักแล้วลวดจัดฟันงอ [...]