ปวดฟัน กินยาแก้ปวด ช่วยได้จริงไหม รักษาอย่างไรให้หายปวดถาวร

ปวดฟัน

หลายคนอาจคิดว่าปวดฟันก็ต้องกินยาถึงจะหาย แต่เมื่อผ่านไปสักพักนึงก็กลับมาปวดฟันซี่เดิมอีกครั้ง นั่นคือสัญญาณเตือนของปัญหาฟันที่รุนแรงขึ้นจนต้องรีบพบหมอฟันกันยกใหญ่ แต่หากคุณเพิ่งปวดฟันเป็นครั้งแรกและต้องการทานยาเพื่อระงับอาการปวดก่อนที่จะไปพบคุณหมอ ก็อาจจะอยากรู้ว่า ปวดฟัน กินยาแก้ปวดตัวไหนดี วันนี้หมอณัฐมีคำแนะนำมาฝากค่ะ

ยาแก้ปวดฟันมีอะไรบ้าง

1. พาราเซตามอล (Paracetamol)

เป็นยาแก้ปวดสามัญประจำบ้านที่ใคร ๆ ก็ต้องมีไว้ติดบ้าน นอกจากจะแก้ปวดฟัน เป็นไข้ได้ในระดับนึงแล้ว พาราเซตามอลยังใช้สำหรับผู้ที่มีอาการปวดฟันอีกด้วยนะค เพียงแต่พาราเซตามอลจะเหมาะสำหรับผู้ที่ปวดฟันเพียงเล็กน้อยหรือระดับปานกลางเท่านั้นนะคะ หากเป็นผู้ใหญ่แนะนำให้กินครั้งละ 1-2 เม็ด (น้ำหนักต่ำกว่า 50 ทานครั้งละ 1 เม็ด แต่หากเกิน 67 ทานครั้งละ 2 เม็ด) ทานทุก 4-6 ชั่วโมง ทั้งนี้ไม่ควรทานเกิน 8 เม็ดต่อวัน (4 กรัม) และไม่ควรทานติดต่อกันนานเกิน 5 วัน เพราะอาจเกิดผลเสียต่อร่างกายได้ค่ะ

2. ยาแก้อักเสบ (NSAIDs)

เป็นกลุ่มยาแก้อักเสบที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มของสเตียรอยด์ แม้ว่าจะเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดฟันปานกลางไปจนถึงปวดระดับรุนแรง แต่ยาเอ็นเสดอาจก่อให้เกิดผลเสียได้หากใช้เป็นเวลานาน เช่น ลดประสิทธิภาพการทำงานของไต ระคายเคืองกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุที่ต้องฟอกไต แต่หากจำเป็นจะต้องทานจริง ๆ หมอณัฐแนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้งค่ะ

2.1 ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)

คนไข้ควรทานขนาด 200-400 มิลลิกรัม ทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง แต่ถ้าหากอาการปวดยังไม่ทุเลา สามารถเพิ่มเป็น 600 มิลลิกรัมได้ค่ะ และที่สำคัญไม่ควรทานเกินวันละ 6 เม็ด แต่หากทานขนาด 600 มิลลิกรัม ไม่ควรทานเกินวันละ 4 เม็ดค่ะ

2.2 ไพร็อกซิแคม (Piroxicam)

คนไข้สามารถทานยาไพร็อกซิแคมได้เพียงวันละ 20 มิลลิกรัมเท่านั้น เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

2.3 พอนสแตน (Ponstan)

นอกจากจะเป็นยาบรรเทาอาการปวดประจำเดือนแล้ว พอนสแตนถูกใช้บรรเทาอาการปวดฟันได้ด้วยเช่นกัน โดยคนไข้ควรทานครั้งละ 1 เม็ด (500 มิลลิกรัม) หลังอาหารทันที วันละ 3 ครั้ง เมื่ออาการดีขึ้นแล้วให้หยุดทานทันที ทั้งนี้พอนสแตนไม่เหมาะกับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงดังต่อไปนี้ ผู้ที่แพ้ยาในกลุ่ม NSAIDs, สตรีมีครรภ์ไตรมาสสุดท้าย, ผู้ที่มีแผลทะลุในทางเดินอาหาร, ผู้ที่มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร, ผู้ป่วยโรคไตขั้นรุนแรง และผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก

3. ยาในกลุ่มต้านเชื้อแบคทีเรีย แก้อักเสบ

ได้แก่ อะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin), เพนนิซิลิน (Penicillin), เตตราไซคลีน (Tetracyclines) จะใช้ก็ต่อเมื่อคนไข้มีอาการปวดฟัน เหงือกบวม ติดเชื้อ และมีหนองร่วมด้วยเท่านั้น แต่ยาในกลุ่มนี้ไม่เหมาะสำหรับหญิงตั้งครรภ์หรือกำลังวางแผนมีบุตร หญิงที่ให้นมบุตร ผู้ป่วยโรคตับ โรคไต กรดไหลย้อน ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดอาหาร โรคเอสแอลอี โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ป่วยไตวายและเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 8 ปี เพราะอาจมีผลข้างเคียงทำให้สีฟันของเด็กผิดปกติไปอย่างถาวรค่ะ

4. เมโทรนิดาโซล (Metronidazole)

เป็นยาปฏิชีวนะสำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรียบางชนิดภายในร่างกาย เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาปวดฟันจากเหงือกอักเสบระดับรุนแรง โดยปริมาณที่ควรทานนั้น หากเป็นผู้ใหญ่จะอยู่ที่ 800 มิลลิกรัมต่อวัน วันละ 3 ครั้ง นาน 5-10 วัน ส่วนเด็กอายุ 7-10 ปี จะอยู่ที่ 400-800 มิลลิกรัมค่ะ

ปวดฟัน กินยาแก้ปวด ช่วยได้จริงไหม

จริงค่ะ เพียงแต่ยาแก้ปวดมีฤทธิ์ระงับอาการปวดได้เพียงชั่วคราวเท่านั้นนะคะ ซึ่งอาการปวดที่เกิดขึ้นไม่สามารถรักษาได้ด้วยยา แต่ต้องรักษาที่ต้นตอของอาการปวด เช่น ฟันผุ โรครำมะนาด (โรคปริทันต์) ซึ่งจะต้องรักษาวิธีการรักษาทางทันตกรรมเท่านั้นนะคะ ดังนั้นหากใครที่คิดว่ากินยาแก้ปวดแล้วหาย รีบแก้ความเข้าใจผิดโดยด่วนแล้วมาพบหมอฟันทันทีหลังทานยาแก้ปวดจะดีที่สุดค่ะ

ยาแก้ปวดฟัน มีผลข้างเคียงไหม

มีแน่นอนค่ะ หากคุณทานเกินขนาด หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าทานยาแล้วจะช่วยรักษาให้หายได้ จึงพยายามอัดยาไปเรื่อย ๆ แม้ว่าจะเกินปริมาณที่แพทย์หรือเภสัชกรได้แจ้งไว้แล้วก็ตาม นอกจากจะไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุแล้ว การทานยาเกินขนาดอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น มึนงง วิงเวียนศีรษะ เยื่อจมูกอักเสบ เป็นแผลในกระเพาะอาหาร และอื่น ๆ อีกมาก

ปวดฟัน รักษาด้วยวิธีไหนดี

ขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการปวดค่ะ หากปวดฟันจากฟันผุขนาดเล็ก หมอฟันจะกำจัดเนื้อฟันที่ผุและอุดด้วยวัสดุอุดฟัน แต่หากฟันผุมากเกินไปจนถึงโพรงประสาทฟัน คุณหมอจะรักษารากฟันเพื่อให้มีฟันไว้ใช้งานต่อไป แต่หากฟันผุมากจนไม่สามารถเก็บฟันซี่นั้นไว้ใช้ได้ต่อไปได้ คุณหมอจะถอนฟันซี่นั้นออกค่ะ

บทความที่น่าสนใจ

ถอนฟันที่ไหนดี ทำไมต้อง Toothluck Dental Clinic

หากคุณมีปัญหาช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นฟันซ้อนฟันเก ฟันห่าง ฟันสบผิดปกติ หรือกำลังมองหาคลินิกสำหรับดูแลฟัน เรา Tooth Luck Detal Clinic เป็นคลินิกทันตกรรมสำหรับเด็กและทุกคนในครอบครัว เรามีทีมทันตแพทย์พร้อมให้บริการทันตกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นจัดฟัน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด ฟอกสีฟัน ขูดหินปูน อุดฟัน รักษารากฟัน รากฟันเทียม วีเนียร์ ฟันปลอม และบริการทันตกรรมสำหรับเด็ก มาพร้อมเครื่องมือที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน และครบครัน ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก ๆ และชาวจังหวัดขอนแก่นอย่างแท้จริง

ทำไมต้องทำฟันที่-Toothluck

รีวิวจัดฟันกับ Tooth Luck dental clinic คลินิกทำฟัน จัดฟัน ขอนแก่น