หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากจนถึงขั้นต้องจัดฟันโดยด่วน อยากจะอยากรู้ว่าจัดฟันทั้งทีจะต้องเจอเครื่องมือจัดฟันอะไรบ้าง วันนี้หมอณัฐขออาสาพามาทำความรู้จักกับเครื่องมือต่าง ๆ ที่คุณควรรู้เพื่อการดูแลช่องปากที่ดีกันค่ะ ว่าแต่จะมีอะไรบ้าง ตามมาอ่านพร้อมกันได้เลยค่ะ
เครื่องมือจัดฟันมีอะไรบ้าง
1. แบร็กเก็ต (Bracket)
หรือที่ใครหลายคนรู้จักในชื่อว่า เหล็กจัดฟัน เป็นอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบสำหรับฟันแต่ละซี่ โดยจะมีช่องตรงกลางไว้สำหรับใส่ลวดเข้าไป ตัวแบร็กเก็ตจะมีขอบสำหรับเกี่ยวยางจัดฟัน บางตัวอาจมีฮุก (Hook) รูปร่างคล้ายตะขอสำหรับเกี่ยวยางดึงฟันเพิ่มเติมค่ะ
2. ลวดจัดฟัน (Archwire)
ทำหน้าที่ช่วยควบคุมทิศทางและตำแหน่งการเคลื่อนตัวของฟันให้ตรงตามแผนการรักษาของคุณหมอ โดยลวดจัดฟันจะมี 2 แบบ ได้แก่ ลวดสแตนเลส (Stainless Steel) ซึ่งเป็นลวดที่มีความแข็งแรงทนทาน ไม่เป็นสนิมง่าย สามารถดัดขึ้นรูปได้ แถมยังมีความฝืดต่ำอีกด้วย และลวดไทเทเนียมนิกเกิ้ล (Nickle Titanium) เป็นลวดที่มีความนิ่ม สามารถโค้งงอและดัดกลับคืนรูปได้ง่าย จึงเหมาะสำหรับคนไข้ที่ยังมีฟันเกอยู่มาก
3. ยางจัดฟัน (Elastic)
เป็นห่วงยางขนาดเล็กที่ช่วยรัดแบร็กเก็ตกับลวดให้อยู่กับที่ เพื่อให้ฟันเคลื่อนที่และเรียงตัวตามตำแหน่งที่คุณหมอติดตั้งเครื่องมือเอาไว้ ยางจัดฟันในปัจจุบันมีทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่
- ยางรัดฟัน (O-ring) หรือยางมัดเครื่องมือ เป็นห่วงยางที่มีรูปร่างคล้ายตัวอักษร O ถือเป็นอุปกรณ์สำหรับจัดฟันยอดนิยมสำหรับวัยรุ่นเลยก็ว่าได้ เนื่องจากมีเฉดสีให้เลือกมากมาย สามารถเปลี่ยนสีใหม่ได้ทุกเดือนตามแผนการรักษาของคุณหมอ โดยยางชนิดนี้จะใช้กับเครื่องมือจัดฟันโลหะ
- เชนจัดฟัน (C-Chain) หรือที่ใครกลายคนรู้จักกันในชื่อ Chain หรือ Power-Chains เป็นยางจัดฟันที่มีลักษณะต่อยาวเป็นเส้นเดียว ช่วยรวบฟันให้ชิดกันหรือช่วยปิดช่องว่างขนาดเล็กของฟัน อีกทั้งช่วยเคลื่อนฟันให้เข้าที่มากขึ้น แต่ยางจัดฟันชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องใส่ทุกคน เนื่องจากยางชนิดนี้เหมาะสำหรับคนไข้ที่มีช่องว่างของฟันมากเกินไปเท่านั้น โดยทั่วไปแล้วเชนจัดฟันมีสีให้เลือกมากมายเหมือนกับโอริงเลยค่ะ
- ยางดึงฟัน (Elastic) เป็นตัวเกี่ยวรัดระหว่างฟัน โดยยางดึงฟันจะเกี่ยวแบร็กเก็ตให้อยู่กับที่ เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยควบคุมให้ฟันเรียงตัวตามตำแหน่งการรักษา สำหรับระยะเวลาในการใส่ยางดึงฟันอาจขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคุณหมอ คนไข้บางคนอาจต้องใส่ตลอดเวลา หรือบางคนใส่เฉพาะบางเวลา เท่านั้น ทั้งนี้คนไข้ควรเปลี่ยนยางดึงฟันทุก 12 – 24 ชั่วโมง เนื่องจากยางดึงฟันจะล้าและหมดแรงดึง ฟัน และที่สำคัญควรใส่ทันทีหลังรับประทานอาหารและทำความสะอาดฟันเสร็จ หากคนไข้ละเลยการใส่ยางดึงฟัน อาจทำให้ฟันเลื่อนไป-กลับได้ง่าย
4. ที่ยกฟัน (Bite)
เป็นอุปกรณ์สำหรับยกฟันให้สูงขึ้น ช่วยในการแก้ปัญหาสบฟันผิดปกติ ทั้งฟันสบลึก ฟันสบคร่อม และฟันสบแบบอื่น ที่ยกฟันอาจสร้างความลำบากในการบดเคี้ยวอาหารในช่วงแรกหลังการติดเครื่องมือแต่จะเริ่มชินเมื่อติดเครื่องมือได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ที่ยกฟันในปัจจุบันมีให้เลือก 2 สี คือ สีฟ้าและสีเหมือนฟัน
5. หมุดจัดฟัน (Mini screws)
เป็นสกรูขนาดเล็กที่อาจใช้ในคนไข้บางรายที่มีฟันซ้อนเกมาก, ฟันหน้ายื่นมาก หรือคนไข้ที่ต้องการปิดช่องฟันกรามที่เคยถอนไปก่อนหน้านี้เพียงเท่านั้น โดยหมุดจัดฟันจะถูกฝังลงไปในกระดูกเพื่อทำหน้าที่เป็นหลักยึดสำหรับดึงฟัน อีกทั้งเป็นหลักยึดในการเกี่ยวยางสำหรับคนไข้ที่มีหลักยึดไม่เพียงพอ
6. บัทตอน (Button)
เป็นกระดุมติดหลังฟัน ทำหน้าที่เกี่ยวยางให้บิดฟันไปยังตำแหน่งที่คุณหมอต้องการ บัทตอนมีทั้งแบบที่คุณหมอเกี่ยวยางให้เองและแบบที่ให้คนไข้เกี่ยวยางด้วยตัวเอง
7. เพลทจัดฟัน (Plate)
เป็นอุปกรณ์จัดฟันที่คนไข้สามารถถอดเข้า-ออกได้ ช่วยแก้ปัญหาความผิดปกติของกรามและเพดานปาก รวมถึงแก้ตำแหน่งและปัญหาฟันสบ ฟันซ้อนเก นอกจากนี้ยังช่วยในการขยายขากรรไกรบน-ล่างของคนไข้ให้ง่ายต่อการรักษามากยิ่งขึ้น โดยเพลทจัดฟันจะสร้างขึ้นจากพิมพ์แบบจำลองฟันในช่องปากและยึดเกี่ยวฟันด้วยตะขอสำหรับยกการสบฟันให้สูงขึ้น
8. รีเทนเนอร์ (Retainer)
เป็นเครื่องมือคงสภาพฟันหลังจัดฟันเสร็จ ทำหน้าที่ป้องกันฟันที่เรียงตัวเป็นระเบียบแล้วไม่ให้เคลื่อนตัวกลับไปยังตำแหน่งเดิมก่อนจัดฟัน เนื่องจากฟันของคนเราในช่วง 1-2 ปีแรกหลังการจัดฟันจะเป็นระยะเวลาที่เซลล์กระดูกและรอบ ๆ รากฟันต้องจดจำตำแหน่งใหม่ หากคนไข้ละเลยการใส่รีเทนเนอร์เป็นเวลานาน อาจทำให้ฟันเคลื่อนตัวกลับไปยังตำแหน่งเดิมและเป็นเหตุให้ต้องจัดฟันรอบสองหรือสามได้ในอนาคต โดยระยะเวลาในการใส่รีเทนเนอร์จะแตกต่างกันตามช่วงเวลาดังนี้
- 6 เดือนแรกหลังจัดฟัน คนไข้ต้องใส่รีเทนเนอร์อย่างน้อยวันละ 22 ชั่วโมง ถอดออกได้เพียงเวลารับประทานอาหารและแปรงฟันเท่านั้น
- หลังจาก 6 เดือนแรกไปจนถึง 2 ปี คนไข้สามารถใส่รีเทนเนอร์เฉพาะตอนเข้านอน (ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคุณหมอที่ทำการรักษา)
- 2 ปีขึ้นไป คนไข้ยังต้องใส่รีเทนเนอร์ไปตลอดชีวิต แต่สามารถใส่น้อยลงได้ หรืออาจใส่นอนเพียงวันเว้นวันก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคุณหมอที่ทำการรักษา
ดูแลหลังจัดฟันอย่างไรได้บ้าง
- ทำความสะอาดช่องปากทุกครั้งหลังมื้ออาหาร เพื่อป้องกันการสะสมเศษอาหารที่อาจเกิดปัญหาช่องปากขณะจัดฟัน
- ทำความสะอาดช่องปากด้วยแปรงสีฟันสำหรับจัดฟัน ใช้ไหมขัดฟันและน้ำยาบ้วนปากควบคู่กันด้วย
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจมีผลต่อเครื่องมือหรืออุปกรณ์จัดฟัน เช่น เล่นกีฬาที่เสี่ยงต่อการปะทะ, ใช้ฟันเปิดขวด, นอนกัดฟัน, ใช้ไม้จิ้มฟันแคะเศษอาหารตามซอกฟัน ฯลฯ
- ปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด
- พบคุณหมอตามนัดทุกครั้ง เพื่อให้ผลการรักษาเป็นไปตามที่คุณหมอกำหนดไว้
- หากมีปัญหาเกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์จัดฟัน หรือพบอาการปวดที่ยังไม่ทุเลาแม้จะผ่านมา 1 สัปดาห์แล้วก็ตาม ให้รีบพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด
จัดฟันที่ไหนดี
หากคุณมีปัญหาช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นฟันซ้อนฟันเก ฟันห่าง ฟันสบผิดปกติ เรา Tooth Luck Detal Clinic เป็นคลินิกทันตกรรมสำหรับเด็กและทุกคนในครอบครัว เรามีทีมทันตแพทย์พร้อมให้บริการทันตกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นจัดฟัน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด ฟอกสีฟัน ขูดหินปูน อุดฟัน รักษารากฟัน รากฟันเทียม วีเนียร์ ฟันปลอม และบริการทันตกรรมสำหรับเด็ก มาพร้อมเครื่องมือที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน และครบครัน ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก ๆ และชาวจังหวัดขอนแก่นอย่างแท้จริง
บทความที่น่าสนใจ
- ลักษณะฟันที่ควรจัดมีแบบไหนบ้าง ทำไมบางคนถึงไม่ต้องจัดฟัน
- ไขข้อข้องใจ ทำไมต้องเคลียร์ช่องปากก่อนจัดฟัน
- เลือกสียางจัดฟันทั้งที เลือกยังไงให้เข้ากับเราที่สุด
อุดฟันหน้าเจ็บมั้ย อยู่ได้นานแค่ไหน ดูแลอย่างไรให้ฟันแข็งแรง
แม้ว่าฟันจะขึ้นชื่อในเรื่องของความแข็งแรง หากดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสมก็อาจทำให้ฟันอยู่คู่กับช่องปากของเราไปได้ตลอดชีวิตเลยทีเดียว [...]
จัดฟันซ้อนเก มีเขี้ยว ใช้เวลานานไหม จัดฟันแบบไหนช่วยได้บ้าง
ฟันซ้อนเก มีเขี้ยว [...]
ปักหมุดจัดฟันคืออะไร เจ็บไหม เหมาะกับปัญหาฟันแบบไหน
จริงอยู่ที่การจัดฟันจะเน้นการใช้เครื่องมือจัดฟันเป็นหลัก แต่หากคนไข้มีปัญหาฟันเรียงตัวผิดปกติบางประเภทก็อาจจำเป็นต้องใช้หมุดจัดฟันเข้าร่วมด้วย [...]
รากฟันเทียมหลุด เกิดจากอะไร มีวิธีดูแลและป้องกันอย่างไร
แม้ว่าคุณจะเคยผ่านการทำรากฟันเทียมมาแล้ว แต่หากวันนึงรากฟันเทียมเกิดหลุดขึ้นมาก็อาจทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจเป็นอย่างมาก [...]
ขี้ผึ้งจัดฟัน คืออะไร ทำไมคนจัดฟันต้องพกติดตัวไว้
เมื่อเริ่มจัดฟันแล้วคุณหมอจะให้ขี้ผึ้งจัดฟันเอาไว้ทาบนเครื่องมือจัดฟัน ว่าแต่ทำไมต้องเป็นขี้ผึ้งด้วย [...]
จัดฟันเหงือกบวม หายเองได้หรือไม่ แก้ยังไงดี
แม้ว่าการจัดฟันจะช่วยแก้ปัญหาฟันเรียงไม่เป็นระเบียบที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพฟันตามมาได้ แต่ในช่วงระหว่างการจัดฟันนั้นคนไข้อาจต้องรับมือกับความผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นภายในปาก [...]