เครื่องมือจัดฟันหลุด อันตรายไหม รับมืออย่างไรได้บ้าง

เครื่องมือจัดฟันหลุด

เครื่องมือจัดฟันหลุด ถือเป็นปัญหาที่คนจัดฟันส่วนใหญ่ต้องเจอ ด้วยความที่เครื่องมือจัดฟันอยู่ในช่องปากของเราตลอด 24 ชม. จึงได้รับแรงกระแทกจากการบดเคี้ยวที่มีผลต่อความแข็งแรงของเครื่องมือจัดฟันเป็นอย่างมาก ว่าแต่ถ้าเครื่องมือหลุดลงคอเข้าไปแล้ว จะเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือไม่ ต้องล้วงคอเอาออกไป แล้วควรดูแลเครื่องมืออย่างไรไม่ให้หลุดบ่อยๆ หมอณัฐมีคำตอบค่ะ

เครื่องมือจัดฟันหลุดเกิดจากอะไร

1. การเคี้ยวอาหารแข็งหรือเหนียวเกินไป

การรับประทานอาหารบางชนิดที่เหนียวหรือแข็งเกินไป เช่น ขนมหมากฝรั่ง, ลูกอม, ขนมปังกรอบ, เนื้อสัตว์ติดมัน, กระดูกสัตว์, คาราเมล ฯลฯ อาจมีผลต่อความแข็งแรงของเครื่องมือจัดฟันได้เช่นกัน เพราะการกัดหรือเคี้ยวที่แรงเกินไปอาจทำให้เกิดการบิดหรือดัดงอที่ตัวเครื่องมือ จนทำให้ลวดจัดฟันหลุดจากยางหรือเครื่องมืออื่นๆ ที่ใช้ในการจัดฟันหลุดออกจากตำแหน่งที่ติดตั้งอยู่ได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้เศษอาหารที่เกิดจากอาหารเหล่านี้อาจเข้าไปติดอยู่ในช่องว่างระหว่างเครื่องมือกับฟัน จนเกิดแรงดึงหรือแรงลากที่ไม่สมดุล ส่งผลให้เครื่องมือหักหรือหลุดออกจากตำแหน่งได้เช่นกัน

2. การทำความสะอาดเครื่องมือจัดฟันไม่ดีพอ

เนื่องจากเครื่องมือจัดฟันติดอยู่ในช่องปากของเราตลอดเวลา และด้วยความที่เครื่องมือไปบดบังฟันบางซี่ จึงทำให้คนไข้จัดฟันแปรงฟันทำความสะอาดเศษอาหารได้ยากในบางจุด เมื่อเศษอาหารติดอยู่ตามซอกฟันหรือเครื่องมือจัดฟันเป็นเวลานาน ก็จะกลายเป็นแหล่งอาหารของแบคทีเรียภายในช่องปาก เมื่อแบคทีเรียเจริญเติบโตมากขึ้นก็จะสร้างคราบพลัคขึ้นมาจนพัฒนากลายเป็นหินปูน ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาช่องปากต่างๆ ที่มีผลทำให้คนไข้ต้องมานั่งรักษาโรคและเลื่อนระยะเวลาในการจัดฟันให้นานขึ้น นอกจากนี้คราบพลัคยังทำให้วัสดุที่ใช้ในการติดตั้งเสื่อมสภาพไวขึ้น โดยเฉพาะยางและลวดจัดฟัน ส่งผลให้เครื่องมือหลุดหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

3. อุบัติเหตุ

แม้ว่าอุบัติเหตุจะเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่หากเกิดอุบัติเหตุกระแทกเข้าที่ปากในช่วงระหว่างจัดฟันก็อาจทำให้เครื่องมือจัดฟันหลุดออกได้เช่นกัน เนื่องจากแรงกระแทกที่รุนแรงจะทำให้ลวดที่เชื่อมต่อระหว่างฟันเบี้ยวหรือหลุดออกจากร่อง หรือทำให้ยางที่ยึดอยู่กับเครื่องมือจัดฟันหลุดออกมา หรือหากเกิดอุบัติเหตุแต่ไม่ได้ทำให้เครื่องมือหลุดออก แต่ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เหงือกบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุเกิดอาการบวมหรืออักเสบตามมา ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการยึดติดของเครื่องมือจัดฟันที่ลดลง โดยเฉพาะกรณีที่เครื่องมือยึดติดกับเหงือกหรือกระดูก

4. การแปรงฟันที่แรงเกินไป

หากคนไข้เผลอออกแรงแปรงฟันมากเกินไป, ใช้แปรงสีฟันที่มีขนแข็ง, ใช้ยาสีฟันที่มีสารเคมีหรือผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์รุนแรง หรือการแปรงฟันในพื้นที่ที่เครื่องมือไม่แน่น เช่น บริเวณที่เครื่องมือไม่ถูกปรับหรือเซ็ตใหม่หลังจากการไปพบคุณหมอ ก็อาจทำให้ยางยืดหรือส่วนของลวดหลวมขึ้นได้ เป็นเหตุทำให้เครื่องมือจัดฟันหลุดออกได้เช่นกัน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม: 7 สาเหตุของการแปรงฟันแรงเกินไป พร้อมวิธีสังเกตอาการตัวเอง 

5. พฤติกรรมเสี่ยง

หลายคนอาจเผลอทำพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การใช้ลิ้นดุนลวด, การเคี้ยวหมากฝรั่ง, การใช้ไม้จิ้มฟัน ก็อาจทำให้เครื่องมือหลุดได้ง่ายเช่นกัน เนื่องจากพฤติกรรมเหล่านี้จะส่งแรงดันไปยังเครื่องมือที่มากเกินไป จนทำให้ยางหรือลวดเสื่อมสภาพไวขึ้น นอกจากนี้ยังรวมไปถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นหลังจากจัดฟันอย่างการนอนกัดฟัน ที่ทำให้กล้ามเนื้อขากรรไกรตึงตัวจนเป็นเหตุทำให้คนจัดฟันกัดฟันในขณะหลับ โดยอาจเกิดขึ้นได้ทั้งในช่วงที่จัดฟันหรือก่อนการจัดฟัน

6. คนไข้ไม่ไปเปลี่ยนเครื่องมือจัดฟันตามนัดหมาย

รู้ไหมคะว่าเครื่องมือจัดฟันแบบเหล็กทั่วไปและแบบดามอนถูกออกแบบเพื่อให้ทำงานเป็นขั้นเป็นตอน เช่น ปรับการเคลื่อนที่ของฟัน, ปรับตำแหน่งของฟันในช่วงเวลาที่กำหนด ฯลฯ ซึ่งเครื่องมือแต่ละชนิดจะมีอายุการใช้งานที่น้อยหากเทียบกับการจัดฟันใส เนื่องจากเครื่องมือจัดฟันใสถูกออกแบบมาสำหรับคนไข้รายนั้นโดยเฉพาะ ทำให้คุณหมอต้องสั่งทำเครื่องมือจัดฟันที่ช่วยให้คนไข้เปลี่ยนเครื่องมือได้ด้วยตัวเองตามแผนการรักษาที่คุณหมอกำหนด หากคนไข้ไม่ได้เข้ารับการปรับเปลี่ยนเครื่องมือจัดฟันตามที่คุณหมอนัดไว้ก็อาจทำให้เครื่องมือจัดฟันทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ นอกจากจะเสี่ยงต่อการหลุดง่ายแล้ว ยังมีผลทำให้ระยะเวลาในการจัดฟันเลื่อนออกไปนานขึ้นด้วยค่ะ

เครื่องมือจัดฟันหลุดชิ้นไหน หลุดได้ง่าย

สำหรับเครื่องมือจัดฟันหลุดที่หลุดออกได้ง่ายหากใช้งานไปนานๆ จะมีแบร็กเก็ต (Bracket), บัทตอน (Button) และไบท์หรือเครื่องมือยกฟัน (Bite turbo) ส่วนอุปกรณ์ที่มีโอกาสหลุดง่ายที่สุดจะเป็นยางจัดฟัน หรือโอริง (O-ring) เนื่องจากเป็นยางที่มีขนาดเล็กและมีความนิ่ม อาจทำให้คนไข้เผลอเคี้ยวร่วมกับอาหารได้โดยไม่รู้ตัว และทิวบ์จัดฟัน (Tube) ที่ติดอยู่บริเวณฟันกราม ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใช้บดเคี้ยวอาหาร โดยเฉพาะช่วงที่บดเคี้ยวอาหารที่เหนียวหรือแข็งเกินไปก็มีโอกาสหลุดได้ง่ายกว่าการบดเคี้ยวอาหารอ่อนค่ะ

เครื่องมือจัดฟันหลุด อันตรายไหม

ขึ้นอยู่กับการดูแลของคนไข้ค่ะ จริงอยู่ที่เครื่องมือจัดฟันตามคลินิกที่ได้มาตรฐานจะเป็น Medical grade ที่ผลิตจากสแตนเลสสตีล ซึ่งเป็นวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ผ่านการทดสอบและรับรองว่าไม่ก่อให้เกิดการแพ้หรืออันตรายจากการสัมผัสกับเนื้อเยื่อในช่องปาก หากคนไข้เผลอกลืนเข้าไป ร่างกายจะขับตัวเครื่องมือออกมาผ่านทางอุจจาระภายใน 3-5 วัน แต่หากเครื่องมือจัดฟันไปติดอยู่ในระบบทางเดินอาหารเป็นเวลา 72 ชั่วโมง แล้วพบความผิดปกติภายในร่างกาย เช่น ปวดท้อง ท้องอืด แนะนำให้รีบมาพบคุณหมอทันที เพราะถ้าหากปล่อยไว้นานอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาได้ค่ะ

เครื่องมือจัดฟันหลุด แก้ยังไงดี

1. รับประทานอาหารอ่อนๆ

การรับประทานอาหารอ่อนๆ เป็นประจำ เช่น ข้าวต้ม, ซุป, โจ๊ก หรือเนื้อสัตว์ต้มเปื่อย จะช่วยลดปัญหาเครื่องมือจัดฟันหลุดได้เป็นอย่างดี เนื่องจากอาหารอ่อนจะลดการสร้างแรงกดทับไปยังเครื่องมือจัดฟันเวลาบดเคี้ยวอาหาร ลดการเสียดสีที่เกิดจากการบดเคี้ยวอาหารที่เหนียวหรือแข็งเกินไปจนระคายเคืองต่อเหงือกหรือเนื้อเยื่อภายในช่องปาก กลายเป็นแผลหรือเกิดการอักเสบในอนาคต นอกจากนี้เวลาทำความสะอาดช่องปากหลังรับประทานอาหารที่อ่อนนิ่มจะง่ายกว่าอาหารที่เหนียวหรือแข็ง ทำให้เศษอาหารหลุดออกจากซอกฟันหรือเครื่องมือง่าย ลดการสะสมของเศษอาหารภายในช่องปากได้เป็นอย่างดี

2. แปรงฟันให้ถูกวิธี

สำหรับวิธีการแปรงฟันที่ถูกต้องควรเลือกใช้แปรงฟันที่มีขนแปรงอ่อนนุ่มและมีปลายเล็กเพื่อไม่ให้แปรงไปเกี่ยวดึงเครื่องมือจัดฟัน และช่วยให้แปรงซอกซอนไปถึงเศษอาหารตามส่วนต่างๆ ของเครื่องมือได้ง่ายขึ้น โดยเน้นการแปรงเบาๆ รอบๆ เครื่องมือจัดฟันในทิศทางขึ้น-ลง หรือวนเป็นวงกลม เพื่อให้ขนแปรงเข้าสู่ซอกฟันและส่วนที่มีลวดเหล็กอยู่ นอกจากการแปรงฟันแล้ว คุณควรใช้แปรงขนาดเล็กพิเศษหรือแปรงสำหรับคนจัดฟันโดยเฉพาะ ในการทำความสะอาดพื้นที่ที่ลวดและยางจัดฟันอาจสะสมสิ่งสกปรกตามซอกฟันหรือเครื่องมือจัดฟัน ทั้งนี้ให้ใช้ไหมขัดฟันในการทำความสะอาดร่วมด้วย เพื่อการกำจัดเศษอาหารที่มีประสิทธิภาพ สุดท้ายค่อยบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากสูตรอ่อนโยน เพื่อฆ่าเชื้อและป้องกันการเกิดแผลในช่องปาก

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม: แนะนำวิธีแปรงฟันสําหรับคนจัดฟัน แปรงยังไงให้สะอาดเนียบ

3. งดพฤติกรรมเสี่ยง

หากคุณมีพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ คุณหมอจะแนะนำวิธีการปรับพฤติกรรมเหล่านั้นก่อน เช่น งดใช้ไม้จิ้มฟัน งดใช้ลิ้นดุนฟัน พยายามไม่กัดฟันเมื่อรู้สึกโกรธ แต่หากการกัดฟันเกิดจากการนอนกัดฟัน แพทย์จะแนะนำให้ใช้เฝือกปาก (Night guard) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยป้องกันไม่ให้ฟันสัมผัสกันขณะนอนหลับ เพื่อป้องกันและลดความเสียหายที่เกิดขึ้นจากฟันกระทบกันในตอนกลางคืน ควบคู่ไปกับการทำกิจกรรมบางอย่างที่ช่วยลดความเครียด เช่น นั่งสมาธิ นั่งอ่านหนัง หายใจลึกๆ ก่อนนอน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม:

@dr.nuttakul

ตอบกลับ @peempeemm36 กลืนแบล็กเกต กลืนลวด ต้องทำยังไง? #หมอณัฐคุณ #คลินิกทันตกรรมทูธลักค์ #toothluck #ทําฟันขอนแก่น #ทําฟันmrtแยกติวานนท์ #จัดฟัน #รักสุขภาพ#tiktokสายความรู้ #tiktokuni #รู้จากtiktok

♬ Relaxing and relaxing everyday BGM(857837) – Sumochi

แม้ว่าการดูแลเครื่องมือจัดฟันจะดูเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับใครหลายคน แต่หากคุณไม่ต้องการให้เกิดปัญหาเครื่องมือจัดฟันหลุดบ่อยๆ อย่าลืมปฎิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัดกันด้วยนะคะ และที่สำคัญหากเกิดปัญหาเครื่องมือจัดฟันหลุดเมื่อไหร่ก็อย่านิ่งนอนใจ แนะนำให้รีบไปพบคุณหมอเพื่อ X-ray ตรวจดูว่าเครื่องมือจะเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือไม่ ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันปัญหาช่องปากที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาวที่อาจมีผลทำให้แผนการรักษายืดเยื้อออกไปอีกค่ะ

บทความที่น่าสนใจ

จัดฟันที่ไหนดี ทำไมต้อง Toothluck Dental Clinic

หากคุณมีปัญหาช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นฟันซ้อนฟันเก ฟันห่าง ฟันสบผิดปกติ หรือกำลังมองหาคลินิกสำหรับดูแลฟัน เรา Tooth Luck Detal Clinic เป็นคลินิกทันตกรรมสำหรับเด็กและทุกคนในครอบครัว เรามีทีมทันตแพทย์พร้อมให้บริการทันตกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นจัดฟัน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด ฟอกสีฟัน ขูดหินปูน อุดฟัน รักษารากฟัน รากฟันเทียม วีเนียร์ ฟันปลอม และบริการทันตกรรมสำหรับเด็ก มาพร้อมเครื่องมือที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน และครบครัน ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก ๆ และชาวจังหวัดขอนแก่นอย่างแท้จริง

ทำไมต้องทำฟันที่-Toothluck

รีวิวจัดฟันกับ Tooth Luck dental clinic คลินิกทำฟัน จัดฟัน ขอนแก่น