ฟันล่างคร่อมฟันบนถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาช่องปากที่พบได้บ่อย นอกจากจะมีผลต่อความมั่นใจที่ลดลงเวลาพูดคุยหรือยิ้มแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาช่องปากอื่นๆ ตามมาได้อีกด้วย หากคุณกำลังประสบกับภาวะดังกล่าวอยู่และเคยได้ยินมาว่าจะต้องผ่าตัดรักษาเท่านั้น ก็อาจกังวลว่าไม่ผ่าตัดได้ไหม แล้วถ้าจัดฟันรักษาจะใช้เวลากี่ปี หมอณัฐมีคำตอบมาฝากค่ะ
ฟันล่างคร่อมฟันบนคืออะไร
เป็นภาวะที่ฟันล่างยื่นออกมามากจนไปปิดหรือคร่อมฟันบนอันเนื่องมาจากโครงสร้างกรามที่ผิดปกติ เมื่อปิดปากตัวฟันล่างจะอยู่เหนือฟันบนหรืออาจคร่อมฟันบนจนฟันทั้งสองชั้นไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม และเมื่อสบฟันจะทำให้ฟันล่างยื่นออกมาหรือคร่อมฟันบนมากเกินไป ทำให้คนไข้ใช้งานฟันได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้ภาวะดังกล่าวยังเป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพช่องปากอื่นๆ ที่รุนแรงยิ่งขึ้น เช่น โรคเหงือกอักเสบ ฟันผุ เป็นต้น
ฟันล่างคร่อมฟันบน เกิดจากอะไร
- พันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีภาวะฟันล่างคร่อมฟันบน ลูกหลายก็มีโอกาสที่จะได้รับพันธุกรรมนี้มาด้วยเช่นกันค่ะ
- พฤติกรรมเสี่ยง เช่น การดูดนิ้วมือหรือการดูดจุกนมหลอกเป็นเวลานานเกินไป ก็อาจทำให้พัฒนาการของกรามผิดปกติ
- กระดูกขากรรไกรโตผิดปกติ ส่งผลให้ขนาดขากรรไกรบนและล่างไม่เท่ากัน
- ได้รับบาดเจ็บบริเวณกระดูกขากรรไกร หากเกิดอุบัติเหตุรุนแรงจนกระทบกับกระดูกขากรรไกรก็อาจทำให้ฟันล่างคร่อมฟันบนได้
อาการที่เกิดจากฟันล่างคร่อมฟันบน
- ฟันล่างยื่นออกมามากเกินไป
- การบดเคี้ยวหรือการออกเสียงบางคำยากขึ้น
- รู้สึกเจ็บปวดหรือไม่สบายช่องปาก
- ฟันบางซี่สึกหรอไวขึ้น เนื่องจากฟันบางซี่ถูกเสียดสีมากเกินไป
- ฟันผุไวขึ้น เนื่องจากมีเศษอาหารและแบคทีเรียสะสมบริเวณฟันบนที่ถูกคร่อม
ผลข้างเคียงจากฟันล่างคร่อมฟันบน
นอกจากจะทำให้เกิดคราบหินปูนและนำมาสู่โรคเหงือกอักเสบและฟันผุแล้ว ฟันล่างคร่อมฟันบนยังทำให้ข้อต่อขากรรไกรเสื่อมไวกว่าปกติด้วย เนื่องจากภาวะฟันล่างคร่อมฟันบนจะสร้างแรงกดดันบริเวณข้อต่อขากรรไกร ทำให้ข้อต่อใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ มีอาการปวดบวม มีเสียงดังระหว่างบดเคี้ยวอาหารหรืออ้าปาก บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วยค่ะ
ฟันล่างคร่อมฟันบนแบบไหนไม่ต้องผ่า
ทันตแพทย์จะพิจารณาก่อนว่าคนไข้มีการสบฟันที่ผิดปกติแบบใด หากฟันล่างคร่อมฟันบนจากการจัดเรียงฟันที่ไม่ถูกต้อง หรือหากมีฟันหน้าล่างยื่นออกมามากเกินไปเนื่องจากฟันเจริญเติบโตผิดปกติ ก็สามารถรักษาได้ด้วยการจัดฟันให้เข้าที่ค่ะ นอกจากจะช่วยให้ฟันบนและฟันล่างสัมผัสกันได้โดยไม่ต้องผ่าตัดแล้ว การจัดฟันยังไม่ไปรบกวนการเจริญเติบโตของกระดูก ช่วยให้คนไข้ใช้งานฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยนะคะ แต่ทั้งนี้ทันตแพทย์จะต้องดูจากช่วงวัยด้วยว่าเหมาะสมกับการผ่าตัดหรือไม่ หากเป็นคนไข้ที่อยู่ในช่วงวัยเด็กหรือวัยรุ่น ซึ่งเป็นช่วงที่ฟันและกระดูกขากรรไกรเจริญเติบโตยังไม่เต็มที่ ก็สามารถรักษาได้ด้วยการจัดฟัน แต่หากคนไข้อยู่ในวัยผู้ใหญ่แล้วก็จำเป็นจะต้องผ่าตัดหรือใช้เครื่องมือช่วย เนื่องจากฟันและกระดูกขากรรไกรเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว
รักษาฟันล่างคร่อมฟันบนอย่างไร
1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
กรณีที่คุณเกิดภาวะดังกล่าวจากพฤติกรรมเสี่ยงอย่างการดูดนิ้วมือหรือการดูดจุกนมหลอกเป็นเวลานานเกินไป ทันตแพทย์จะแนะนำวิธีเลิกทำพฤติกรรมดังกล่าว แต่หากคุณไม่ได้รักษาปัญหาฟันล่างคร่อมฟันบนมาจนถึงช่วงวัยผู้ใหญ่ ทันตแพทย์จะรักษาด้วยวิธีอื่นไปด้วยค่ะ
2. การจัดฟัน (Braces)
ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือจัดฟันเหล็ก (braces) หรือเครื่องมือจัดฟันใส (Invisalign) ในการย้ายฟันล่างที่ยื่นออกมาให้กลับสู่ตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่ให้คร่อมฟันบน อีกทั้งปรับมุมของฟันบนให้สัมผัสกับฟันล่างได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากจะช่วยให้ฟันล่างและฟันบนสัมผัสกัน ช่วยให้คนไข้บดเคี้ยวอาหารง่ายขึ้นและออกเสียงได้ชัดเจนแล้ว ยังช่วยให้คนไข้รักษาปัญหาได้โดยไม่ต้องผ่าตัดกระดูกขากรรไกรอีกด้วยค่ะ ส่วนระยะเวลาการจัดฟันจะอยู่ที่ประมาณ 1-3 ปี ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของปัญหา, เครื่องมือที่ใช้ และการดูแลช่องปากระหว่างการจัดฟันของคนไข้ด้วยนะคะ
3. ใช้เครื่องมือเสริม (Appliance)
ได้แก่ บล็อกกัด (Bite Blocks) เป็นเครื่องมือสำหรับแก้ปัญหาสบฟันหรือเคลื่อนย้ายฟันและขากรรไกร โดยตัววัสดุจะติดอยู่บนฟันด้านหลัง (ส่วนมากจะเป็นฟันกราม) ทั้งในฟันบนและฟันล่างเพื่อยกฟันขึ้นจากการสัมผัสกับฟันอีกชั้นหนึ่ง ทำให้ฟันล่างยื่นออกไปคร่อมฟันบนได้ไม่สมบูรณ์ ส่วนเฮดเกียร์ (Headgear) จะช่วยควบคุมการเจริญเติบโตของขากรรไกร โดยเฉพาะขากรรไกรล่าง ไม่ให้ยื่นออกมามากเกินไปจนฟันล่างคร่อมฟันบน โดยเฮดเกียร์จะช่วยดึงฟันที่อยู่ในตำแหน่งผิดให้กลับมาอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและปรับตำแหน่งของฟันบนให้สบกับฟันล่างได้ดีขึ้น
4. ผ่าตัดศัลยกรรมขากรรไกร (Orthognathic Surgery)
เป็นการรักษาปัญหาฟันล่างคร่อมฟันบนในกรณีที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการจัดฟันหรือการใช้เครื่องมือเสริม โดยการผ่าตัดขากรรไกรจะแบ่งเป็นการผ่าตัดขากรรไกรล่างเพื่อเลื่อนขากรรไกรล่างกลับมาในตำแหน่งที่เหมาะสม หากขากรรไกรล่างเจริญเติบโตและยื่นออกไปมากเกินไป ส่วนการผ่าตัดขากรรไกรบนจะช่วยขยับขากรรไกรบนให้ยื่นออกไปข้างหน้าเพื่อปรับสมดุลของขากรรไกรทั้ง 2 ข้าง ทั้งนี้การผ่าตัดขากรรไกรจะต้องทำร่วมกับการจัดฟันเสมอเพื่อจัดเรียงฟันทั้ง 2 ชั้นไปยังตำแหน่งที่ถูกต้อง
สุดท้ายนี้หากคุณต้องการรักษาฟันล่างคร่อมฟันบนด้วยการจัดฟันอาจใช้เวลาหลายปี คนไข้จำเป็นจะต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับคลินิกหรือสถานพยาบาลสำหรับจัดฟันให้ดี เพราะถ้าเลือกด้วยราคาที่ถูกกว่าเจ้าอื่นก็อาจเสี่ยงต่อการเจอคลินิกที่ไม่ได้มาตรฐาน ใช้วัสดุจัดฟันราคาถูกที่หาซื้อได้ทั่วไป ไม่ได้ถูกออกแบบสำหรับการจัดฟันโดยเฉพาะ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพช่องปากในระยะยาวได้ หรือหากเลือกทันตแพทย์ที่ประสบการณ์น้อยก็อาจวิเคราะห์และปรับเครื่องมือไม่ตรงกับตำแหน่งที่ควรจะเป็น แทนที่จะรักษาปัญหาได้ กลับกลายเป็นต้องมานั่งรักษาปัญหาอื่นๆ ที่ตามมาจากการรักษาที่ไม่เหมาะสมอีกด้วยค่ะ
บทความที่น่าสนใจ
- ฟันสบเปิดคืออะไร อันตรายไหม ทำไมถึงสร้างความยุ่งยากในระยะยาว
- ฟันสบลึกคืออะไร มีผลอย่างไรต่อฟัน ทำไมต้องรีบรักษาโดยด่วน
- กระดูกฟันละลายเกิดจากอะไร ทำไมต้องรีบแก้หากจะทำรากฟันเทียม
จัดฟันที่ไหนดี ทำไมต้อง Toothluck Dental Clinic
หากคุณมีปัญหาช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นฟันซ้อนฟันเก ฟันห่าง ฟันสบผิดปกติ หรือกำลังมองหาคลินิกสำหรับดูแลฟัน เรา Tooth Luck Detal Clinic เป็นคลินิกทันตกรรมสำหรับเด็กและทุกคนในครอบครัว เรามีทีมทันตแพทย์พร้อมให้บริการทันตกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นจัดฟัน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด ฟอกสีฟัน ขูดหินปูน อุดฟัน รักษารากฟัน รากฟันเทียม วีเนียร์ ฟันปลอม และบริการทันตกรรมสำหรับเด็ก มาพร้อมเครื่องมือที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน และครบครัน ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก ๆ และชาวจังหวัดขอนแก่นอย่างแท้จริง
รีวิวจัดฟันกับ Tooth Luck dental clinic คลินิกทำฟัน จัดฟัน ขอนแก่น
ฟันล่างคร่อมฟันบน ไม่ผ่าตัดได้ไหม ใช้เวลาจัดฟันกี่ปี
ฟันล่างคร่อมฟันบนถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาช่องปากที่พบได้บ่อย นอกจากจะมีผลต่อความมั่นใจที่ลดลงเวลาพูดคุยหรือยิ้มแล้ว [...]
ฟันสบเปิดคืออะไร อันตรายไหม ทำไมถึงสร้างความยุ่งยากในระยะยาว
หนึ่งในปัญหาที่ทำให้ใครหลายคนใช้ชีวิตลำบากมากขึ้น อีกทั้งมีผลต่อความมั่นใจที่ลดลงเวลายิ้มหรือพูดคุยกับผู้อื่น [...]
ฟันสบลึกคืออะไร มีผลอย่างไรต่อฟัน ทำไมต้องรีบรักษาโดยด่วน
โดยทั่วไปแล้วฟันของคนเราจะสบอยู่ประมาณ 1-2 [...]
กระดูกฟันละลายเกิดจากอะไร ทำไมต้องรีบแก้หากจะทำรากฟันเทียม
กระดูกฟันละลายมักพบได้บ่อยในผู้ที่สูญเสียฟันหรือมีปัญหาด้านสุขภาพช่องปาก ที่ไม่ได้รับรักษาอย่างทันท่วงที [...]
ปัญหาหลังใส่รากฟันเทียมที่คุณไม่ควรละเลย เพื่อช่องปากที่ดี
หลังจากการใส่รากฟันเทียมไปได้สักพัก ก็อาจเกิดปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนบางอย่างที่ทำให้คุณใช้ชีวิตประจำวันได้ลำบากขึ้น [...]
รากฟันเทียมอักเสบเกิดจากอะไร ทำไมกินยาแล้วไม่หายสักที
หลายคนที่กำลังประสบปัญหารากฟันเทียมอักเสบอาจใช้วิธีการรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการ แต่ในความเป็นจริงแล้วการทานยาไม่ได้ช่วยรักษาที่ต้นเหตุแต่อย่างใด [...]