กระดูกฟันละลายมักพบได้บ่อยในผู้ที่สูญเสียฟันหรือมีปัญหาด้านสุขภาพช่องปาก ที่ไม่ได้รับรักษาอย่างทันท่วงที ปัญหานี้อาจมีผลต่อการทำรากฟันเทียมที่ยากขึ้นเนื่องจากกระดูกที่รองรับรากฟันเทียมไม่เพียงพอ ว่าแต่กระดูกฟันละลายเกิดจากอะไร มีวิธีดูแลและป้องกันอย่างไร และที่สำคัญจะต้องทำยังไงหากคุณคิดจะทำรากฟันเทียม บทความนี้มีคำตอบค่ะ
กระดูกฟันละลายคืออะไร
เป็นกระบวนการที่กระดูกรอบๆ ฟันหรือโครงสร้างที่รองรับฟัน เช่น กระดูกขากรรไกร ถูกทำลายหรือละลายไป ส่งผลให้ฟันเคลื่อนหรือหลุดออกจากตำแหน่ง การละลายนี้อาจเกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น
- โรคเหงือก (Periodontal Disease) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องปากจากการรักษาสุขภาพช่องปากไม่เหมาะสมและก่อให้เกิดโรคเหงือก เช่น โรคเหงือกอักเสบหรือโรคเหงือกขั้นรุนแรง ส่งผลให้กระดูกรองรับฟันถูกทำลาย
- สูญเสียฟัน (Tooth Loss) เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือมีปัญหาฟันจนต้องสูญเสียฟันถาวร ก็อาจทำให้กระดูกขากรรไกรที่รองรับฟันจะถูกกระตุ้นน้อยลงและเกิดการละลายของกระดูกในบริเวณที่ฟันหายไป ส่งผลให้กระดูกฟันลดลงและสูญเสียโครงสร้างของขากรรไกร
- การจัดฟัน (Orthodontics) แม้ว่าการจัดฟันจะช่วยรักษาปัญหาฟันเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ แต่ในบางกรณีที่เกิดการขยับฟันเร็วเกินไปหรือแรงที่ใช้ในการจัดฟันไม่เหมาะสม ก็อาจทำให้กระดูกที่รองรับฟันถูกทำลายหรือละลาย
- ขาดแคลเซียมและแร่ธาตุ การขาดแคลเซียมและสารอาหารที่จำเป็นสำหรับกระดูก เช่น วิตามิน D และฟอสฟอรัส อาจทำให้กระดูกฟันละลายหรืออ่อนแอลง
- การบาดเจ็บหรือการผ่าตัด หากเกิดอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บบริเวณฟันหรือมีเหตุจำเป็นต้องผ่าตัดขากรรไกร ก็อาจทำให้กระดูกฟันละลาย
- โรคทางระบบ (Systemic Diseases) ได้แก่ โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) หรือโรคเกี่ยวกับการทำงานของฮอร์โมนบางชนิด เช่น ภาวะไทรอยด์หรือฮอร์โมนพาราไทรอยด์ที่ผิดปกติ
- ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาในกลุ่ม Bisphosphonates หรือยา Steroids อาจมีผลข้างเคียงที่ทำให้กระดูกฟันละลาย
อาการของกระดูกฟันละลาย
- ฟันเคลื่อนที่หรือหลวมแบบรู้สึกได้
- รู้สึกไม่สบายหรือไม่มั่นคงเวลาบดเคี้ยวอาหาร
- ออกเสียงบางคำหรือบางตัวอักษรได้ไม่ชัดเจน
- เหงือกบวมแดง เลือดออกง่ายเวลาแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน
- รู้สึกปวดหรือเจ็บบริเวณฟันและเหงือก ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อในเหงือกหรือกระดูกขากรรไกร
- หากกระดูกละลายไปมาก ฟันอาจหลุดออกหรือสูญเสียฟันซี่นั้นไปเลย
- รูปร่างฟันเปลี่ยนแปลง เช่น ฟันสั้นลง ฟันผิดรูป ไม่เป็นธรรมชาติ
- เหงือกร่น ทำให้ฟันดูยาวขึ้น
- เห็นรอยแผลเป็นบริเวณฐานฟัน
- เกิดการอักเสบบริเวณขากรรไกรหรือรอบๆ ฟันที่กระดูกละลาย
กระดูกฟันละลาย อันตรายไหม
กระดูกฟันละลายอาจก่อให้เกิดปัญหาช่องปากที่เป็นอันตรายหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะกระดูกที่ละลายไปแล้วจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและสุขภาพช่องปากในระยะยาว ดังนี้
- ฟันเคลื่อนที่และหลุด หากกระดูกขากรรไกรละลายก็อาจทำให้ฟันที่ยึดอยู่ในกระดูกเคลื่อนหรือหลุดออกง่ายขึ้น โดยเฉพาะฟันที่ไม่ได้รับการรักษาหรือฟันที่ได้รับผลกระทบจากโรคเหงือก
- สูญเสียความสามารถในการบดเคี้ยวอาหาร กระดูกที่ละลายอาจทำให้ฟันสูญเสียความแข็งแรง รากฟันมั่นคง คุณจึงเคี้ยวอาหารได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารหรือการขาดสารอาหารในระยะยาว
- เสี่ยงต่อโรคเหงือกและฟันผุ กระดูกที่ละลายจากโรคเหงือกหรือการติดเชื้อ อาจเกิดการติดเชื้อที่แพร่กระจายไปยังฟันและเหงือกบริเวณอื่น มีผลต่อการรักษาโรคที่ยากขึ้น
- รูปหน้าเปลี่ยน หากกระดูกละลายก็จะทำให้โครงหน้าเปลี่ยนแปลงไป เช่น หน้าแหลมลง กรามไม่สม่ำเสมอ ส่งผลต่อความมั่นใจในรูปลักษณ์ภายนอกที่น้อยลง
กระดูกฟันละลาย ใส่รากฟันเทียมได้ไหม
มีทั้งได้และไม่ได้ค่ะ เนื่องจากกระดูกที่รองรับรากฟันเทียมไม่เพียงพอหรือไม่แข็งแรงพอ แต่ก็ยังทำการรักษาหรือเตรียมกระดูกเพื่อใส่รากฟันเทียมได้ ขึ้นอยู่กับสภาพของกระดูกและขั้นตอนการรักษา ทั้งนี้ทันตแพทย์จะต้องเอกซเรย์เพื่อตรวจสอบสภาพของกระดูกขากรรไกรและประเมินความเหมาะสมในการฝังรากฟันเทียมว่ากระดูกฟันละลายเล็กน้อยหรือไม่ ถ้ากระดูกละลายไม่รุนแรงและยังมีกระดูกเพียงพอสำหรับการรองรับรากฟันเทียม ทันตแพทย์จะใส่รากฟันเทียมได้แต่จะต้องดูให้แน่ใจด้วยว่ากระดูกแข็งแรงพอที่จะยึดรากฟันเทียม แต่หากละลายมากเกินไปก็อาจต้องรักษาก่อนทำรากฟันเทียมค่ะ
กระดูกฟันละลาย รักษาอย่างไร
1. รักษาโรคเหงือก
สำหรับวิธีรักษาโรคเหงือกจะมีตั้งแต่การขูดหินปูนและการขัดฟันเพื่อลดการสะสมของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการอักเสบของเหงือก แต่หากอาการรุนแรงอาจต้องรักษาด้วยใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุมการติดเชื้อหรืออาจจำเป็นต้องผ่าตัดเหงือกร่วมด้วย
2. การปลูกกระดูก (Bone Grafting)
การปลูกกระดูกทำได้โดยการใช้กระดูกของผู้ป่วยเองหรือวัสดุสังเคราะห์ เช่น แกรนูลกระดูก หรือวัสดุสังเคราะห์ที่ใช้แทนกระดูกเพื่อเติมเต็มและเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูกขากรรไกร ทั้งนี้การปลูกกระดูกอาจต้องใช้เวลาฟื้นตัวพอสมควรเพื่อรอให้กระดูกใหม่แข็งแรง พร้อมต่อการทำรากฟันเทียม
3. การทำผ่าตัดเสริมกระดูก (Bone Augmentation)
การทำการเสริมกระดูก หรือการเสริมพรีเมียม เป็นกระบวนการทางการแพทย์ที่ใช้เพื่อเพิ่มหรือฟื้นฟูกระดูกที่สูญเสียไปในส่วนต่างๆ ของขากรรไกร หากกระดูกฟันละลายมากเกินไป หรือในกรณีที่ต้องการเตรียมพื้นที่สำหรับการฝัง รากฟันเทียม หรือการรักษาปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวกับกระดูกขากรรไกร
4. การใช้ฟันเทียม
การใช้ฟันเทียมสามารถช่วยรักษาปัญหากระดูกละลายได้ในบางกรณี โดยฟันเทียมจะช่วยกระตุ้นกระดูกให้เจริญเติบโต ซึ่งกระดูกที่รองรับฟันเทียมจะได้รับการกระตุ้นให้แข็งแรงขึ้นและคงสภาพเดิมมากขึ้นผ่านกระบวนการ Osseointegration ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อระหว่างรากฟันเทียมและกระดูกขากรรไกร อีกทั้งป้องกันการละลายของกระดูกที่เกิดขึ้นจากการขาดฟัน เนื่องจากขาดการกระตุ้นจากการเคี้ยวหรือบดอาหาร
5. การรักษาโดยใช้การย้ายกระดูก (Guided Bone Regeneration – GBR)
เป็นเทคนิคที่ช่วยฟื้นฟูและเสริมสร้างกระดูกในพื้นที่ที่สูญเสียไป โดยใช้วัสดุเสริมกระดูกร่วมกับแผ่นกั้นเพื่อช่วยให้กระดูกใหม่เจริญเติบโตในพื้นที่ที่เหมาะสม ช่วยเพิ่มโอกาสฝังรากฟันเทียมให้สำเร็จมากขึ้น อีกทั้งช่วยป้องกันการละลายของกระดูกและปรับปรุงสภาพของขากรรไกรได้ในระยะยาว
6. การเติมแคลเซียมและวิตามินให้ร่างกาย
ทันตแพทย์จะแนะนำให้รับประทานอาหารเสริมหรือการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูก ได้แก่ แคลเซียม (Calcium) จากผลิตภัณฑ์จากนม ปลา ผักใบเขียว, วิตามิน D จากปลาที่มีไขมันสูง (เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน), แมกนีเซียม (Magnesium) จากเมล็ดธัญพืช ถั่ว ผักใบเขียว, คอลลาเจน (Collagen) จากเนื้อสัตว์และอาหารที่มีโปรตีนสูง เป็นต้น
แม้ว่าการรักษาปัญหากระดูกละลายจะสามารถทำได้หลายวิธี แต่หากคุณไม่รีบดูแลรักษา ปล่อยไว้จนกระดูกละลายไปมากกว่าเดิม ก็อาจเผชิญกับการสูญเสียโอกาสในการทำรากฟันเทียมในอนาคตหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ดังนั้นการดูแลสุขภาพช่องปากและการเข้ารับคำแนะนำจากทันตแพทย์จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อสุขภาพฟันที่ดีในระยะยาวค่ะ
บทความที่น่าสนใจ
- รวม 10 คำถาม ตอบทุกข้อสงสัย ก่อนที่คุณจะทำรากฟันเทียม
- ความรู้สึกหลังใส่รากฟันเทียมเป็นอย่างไร ทำยังไงให้หายบวมไวๆ
- ข้อห้ามทำรากฟันเทียมมีอะไรบ้าง อย่างไหนต้องระวังเป็นพิเศษ
จัดฟันที่ไหนดี ทำไมต้อง Toothluck Dental Clinic
หากคุณมีปัญหาช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นฟันซ้อนฟันเก ฟันห่าง ฟันสบผิดปกติ หรือกำลังมองหาคลินิกสำหรับดูแลฟัน เรา Tooth Luck Detal Clinic เป็นคลินิกทันตกรรมสำหรับเด็กและทุกคนในครอบครัว เรามีทีมทันตแพทย์พร้อมให้บริการทันตกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นจัดฟัน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด ฟอกสีฟัน ขูดหินปูน อุดฟัน รักษารากฟัน รากฟันเทียม วีเนียร์ ฟันปลอม และบริการทันตกรรมสำหรับเด็ก มาพร้อมเครื่องมือที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน และครบครัน ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก ๆ และชาวจังหวัดขอนแก่นอย่างแท้จริง
รีวิวจัดฟันกับ Tooth Luck dental clinic คลินิกทำฟัน จัดฟัน ขอนแก่น
ฟันล่างคร่อมฟันบน ไม่ผ่าตัดได้ไหม ใช้เวลาจัดฟันกี่ปี
ฟันล่างคร่อมฟันบนถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาช่องปากที่พบได้บ่อย นอกจากจะมีผลต่อความมั่นใจที่ลดลงเวลาพูดคุยหรือยิ้มแล้ว [...]
ฟันสบเปิดคืออะไร อันตรายไหม ทำไมถึงสร้างความยุ่งยากในระยะยาว
หนึ่งในปัญหาที่ทำให้ใครหลายคนใช้ชีวิตลำบากมากขึ้น อีกทั้งมีผลต่อความมั่นใจที่ลดลงเวลายิ้มหรือพูดคุยกับผู้อื่น [...]
ฟันสบลึกคืออะไร มีผลอย่างไรต่อฟัน ทำไมต้องรีบรักษาโดยด่วน
โดยทั่วไปแล้วฟันของคนเราจะสบอยู่ประมาณ 1-2 [...]
กระดูกฟันละลายเกิดจากอะไร ทำไมต้องรีบแก้หากจะทำรากฟันเทียม
กระดูกฟันละลายมักพบได้บ่อยในผู้ที่สูญเสียฟันหรือมีปัญหาด้านสุขภาพช่องปาก ที่ไม่ได้รับรักษาอย่างทันท่วงที [...]
ปัญหาหลังใส่รากฟันเทียมที่คุณไม่ควรละเลย เพื่อช่องปากที่ดี
หลังจากการใส่รากฟันเทียมไปได้สักพัก ก็อาจเกิดปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนบางอย่างที่ทำให้คุณใช้ชีวิตประจำวันได้ลำบากขึ้น [...]
รากฟันเทียมอักเสบเกิดจากอะไร ทำไมกินยาแล้วไม่หายสักที
หลายคนที่กำลังประสบปัญหารากฟันเทียมอักเสบอาจใช้วิธีการรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการ แต่ในความเป็นจริงแล้วการทานยาไม่ได้ช่วยรักษาที่ต้นเหตุแต่อย่างใด [...]