ฟันปลอมเป็นคำตอบในการรักษาสุขภาพช่องปากเมื่อมีเหตุให้ต้องถอนฟันออก แต่ฟันชนิดนี้มีหลากหลายประเภทให้เลือกใช้ แล้วแต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร มีวิธีดูแลรักษาอย่างไรให้อยู่ในช่องปากไปอีกนานแสนนาน หมอณัฐมีคำตอบมาฝากทุกคนกันค่ะ
ฟันปลอมคืออะไร
เป็นฟันที่ทำขึ้นมาเพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไปจากอุบัติเหตุหรือจากโรคที่เกี่ยวข้องกับฟันอันเนื่องมาจากพฤติกรรมการดูแลฟันอย่างผิดวิธี เช่น ฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ ฯลฯ โดยฟันที่ทำขึ้นมานี้จะให้ดูมีฟันเรียงสวยเป็นธรรมชาติครบทุกซี่แล้ว ยังช่วยในการออกเสียงที่ต้องกระทบกับฟัน ช่วยให้คนไข้บดเคี้ยวอาหารได้เหมือนฟันธรรมชาติ ช่วยให้ฟันคู่สบยื่นยาว อีกทั้งป้องกันฟันซี่ข้างเคียงล้มเอียงตามกลไกของธรรมชาติด้วยค่ะ
ฟันปลอมมีกี่แบบ อะไรบ้าง
1. ฟันปลอมชนิดถอดได้
เป็นฟันปลอมที่คนไข้สามารถถอดออกได้ด้วยตัวเอง สามารถใส่ฟันได้หลายซี่หรือใส่ได้ทั่วทั้งปาก มีฐานเป็นอะครีลิก ฟันปลอมชนิดนี้มีให้เลือก 2 แบบ ได้แก่ แบบพลาสติกยืดหยุ่นและแบบโลหะ ข้อดีของฟันชนิดนี้มีราคาถูกกว่าฟันปลอมชนิดติดแน่น อีกทั้งติดตั้งง่าย ใช้เวลาทำฟันปลอมไม่นานและไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับคนไข้ที่สูญเสียฟันบางซี่หรือเหลือฟันเพียงไม่กี่ซี่ แถมซี่ที่เหลือก็ไม่แข็งแรงพอต่อการใช้งาน
แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ความทนทานต่อการใช้งานและประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารไม่ดีเท่าฟันปลอมชนิดติดแน่นเนื่องจากมีแรงบดเคี้ยวน้อยที่น้อยกว่า ส่วนที่เกี่ยวตะขอเสื่อมง่ายตามอายุการใช้งาน และที่สำคัญหากทำความสะอาดไม่ดี อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อรา ดังนั้นไม่ควรใส่เวลานอน ทั้งนอนกลางวันและนอนกลางคืนนะคะ
ฟันปลอมชนิดถอดได้มี 3 ชนิด ได้แก่ ฟันปลอมชนิดถอดได้แบบชั่วคราว หรือ TP (Temporary Plate) เป็นฟันปลอมที่ทำจากพลาสติกสีชมพูคล้ายสีของเหงือก ตัวฟันทำจากอะคริลิค จึงมีสีเดียวกับฟันธรรมชาติ อายุการใช้งานของฟันปลอมแบบนี้อยู่ที่ประมาณ 3 – 6 เดือน จากนั้นคนไข้จะต้องนำมาปรับให้แน่นขึ้นหรือทำฟันปลอมชุดใหม่ สำหรับข้อดีมีมากมาย ทั้งราคาถูก แถมไม่ต้องมานั่งกรอฟันที่เหลืออยู่ อีกทั้งถอดออกมาทำความสะอาดง่ายด้วยค่ะ แต่ทั้งนี้อาจจะรู้สึกรำคาญง่ายเนื่องจากต้องถอดเข้า-ออก เพื่อทำความสะอาดบ่อย ๆ อีกทั้งตัวฟันปลอมมีขนาดใหญ่ อาจทำให้รู้สึกไม่คุ้นชินในช่วงแรก แถมยังต้องมาพบคุณหมอบ่อย ๆ เพื่อปรับฟันจนกว่าจะใช้งานได้เป็นปกติ หากดูแลรักษาไม่ดี อาจมีโอกาสฟันโยก เป็นโรคเหงือกอักเสบ หรือฟันผุได้ค่ะ
ส่วน ฟันปลอมชนิดถอดได้แบบถาวร (Removable Partial Denture) เป็นฟันปลอมแบบถอดได้เหมือนฟันปลอมชนิดถอดได้แบบชั่วคราว แต่วัสดุที่ใช้แตกต่างกัน จึงมีประสิทธิภาพและอายุการใช้งานที่นานกว่า แต่ก็มีราคาสูงกว่าด้วยเช่นกันค่ะ ในส่วนของขั้นตอนการทำฟันปลอมชนิดนี้ก็ยุ่งยากพอสมควรเลยค่ะ
และ ฟันปลอมถอดได้แบบทั้งปาก (Full Denture) เป็นฟันปลอมที่ถูกออกแบบมาให้พอดีกับสันเหงือกของคุณ สามารถใส่ได้ทันทีหลังจากถอนฟันหมดปากแล้ว ในกรณีที่สันเหงือกของคุณเตี้ยจนใส่ฟันปลอมไม่พอดี คุณหมอจะแก้ไขด้วยการปักรากฟันเทียมเพื่อยึดฟันปลอมได้ ซึ่งฟันปลอมชนิดนี้จะมีค่า่ใช้จ่ายสูงกว่าฟันปลอมทั่วไปค่ะ
2. ฟันปลอมชนิดติดแน่น
เป็นฟันปลอมที่ติดแน่นอยู่ภายในปาก จึงทำความสะอาดยากกว่าฟันปลอมชนิดถอดได้ แต่ก็มีความแข็งแรงทนทานที่มากกว่า สามารถบดเคี้ยวได้เหมือนฟันธรรมชาติและให้ความรู้สึกไม่แตกต่างจากฟันธรรมชาติเลยค่ะ จึงเหมาะสำหรับคนไข้ที่ต้องการฟันปลอมที่มีสีใกล้เคียงฟันธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจเวลาออกไปข้างนอกได้เป็นอย่างดี ไม่ต้องมานั่งกังวลหรือรำคาญช่องปากจากความไม่คุ้นชินกับฟันปลอม
ส่วนการทำความสะอาดก็เหมือนฟันทั่วไปที่ต้องแปรงให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำอย่างน้อย 2 เวลา เช้าและก่อนนอน หรืออาจแปรงทุกครั้งหลังมื้ออาหาร 30 นาทีค่ะ ฟันปลอมชนิดนี้มีให้เลือก 2 แบบ ได้แก่ ฟันปลอมชนิดติดแน่นด้วยสะพานฟัน และฟันปลอมชนิดติดแน่นด้วยรากฟันเทียม แต่ฟันปลอมชนิดนี้สามารถผุได้เช่นกันหากคนไข้ดูแลรักษาช่องปากได้ไม่ดีพอ แถมยังมีราคาแพงกว่าฟันปลอมชนิดถอดได้ จึงอาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีงบจำกัดค่ะ
ฟันปลอมเหมาะกับใครบ้าง
- ผู้ที่มีปัญหาฟันจนสูญเสียฟันหรือเนื้อฟันจากอุบัติเหตุ
- ผู้ที่มีปัญหาโรคเหงือกปริทันต์อักเสบหรือฟันผุจากพฤติกรรมเสี่ยง
- ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนฟันปลอมใหม่เนื่องจากของเก่าใส่ไม่พอดี
ขั้นตอนการทำฟันปลอม
- คุณหมอจะเช็กประวัติและ X-ray ช่องปาก ในกรณีที่คุณหมอวินิจฉัยว่าจำเป็นต้องถอนฟันออก คนไข้จะต้องถอนฟันและรอให้แผลหายสนิทก่อนที่จะทำฟันปลอม
- เมื่ออาการหลังจากถอนฟันหายดีแล้ว คุณหมอจะทำพิมพ์ปากเพื่อสร้างแบบจำลองฟัน ซึ่งจะช่วยให้คุณหมอสามารถวินิจฉัยและทำฟันปลอมที่มีขนาดและรูปร่างเหมาะสมกับช่องปากคนไข้มากที่สุด
- หลังจากนั้นคุณหมอจะนำแบบจำลองส่งไปยังห้องแลปทันตกรรมเพื่อผลิตแผงฟันปลอมแบบชั่วคราวแก่คนไข้
- คุณหมอจะลองฟันปลอมแบบชั่วคราวแก่คนไข้เพื่อตรวจดูตำแหน่งและรูปร่างของฟัน รวมถึงความสะดวกสบายต่อการใช้งานของคนไข้ หากคนไข้ใส่แล้วไม่สบายปาก คุณหมอจะแก้ไขจนกว่าจะได้ฟันปลอมที่เหมาะกับช่องปากคนไข้มากที่สุด ก่อนส่งไปยังห้องแลปทันตกรรมเพื่อผลิตฟันปลอมชุดจริงที่ทั้งสมบูรณ์แบบและใช้งานง่ายให้แก่คนไข้
- หลังจากได้ฟันปลอมที่เหมาะกับคนไข้แล้ว คุณหมอจะนัดติดตามผลการใช้งานอีกครั้งประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นคุณหมอจะนัดตรวจเช็กฟันปลอมทุก ๆ 6 เดือน แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคุณหมอท่านนั้น รวมถึงการดูแลสุขภาพช่องปากหลังใส่ฟันปลอมของคนไข้เองด้วยนะคะ
ทำความสะอาดฟันปลอมยังไง
ในกรณีที่เป็นฟันปลอมชนิดติดแน่น คนไข้สามารถทำความสะอาดได้เหมือนฟันธรรมชาติเลยค่ะ แต่หากเป็นฟันปลอมชนิดถอดได้ คนไข้จะต้องถอดออกทำความสะอาดทุกครั้งหลังมื้ออาหารและก่อนนอนของทุกวัน โดยใช้แปรงสีฟันขนนุ่มแปรงฟันปลอมเบา ๆ ร่วมกับน้ำสะอาด น้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างจานก็ได้ค่ะ หรือหากต้องการฆ่าเชื้อโรค แนะนำให้ใช้เม็ดฟู่ทำความสะอาดฟันปลอมเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้งก็พอค่ะ ทั้งนี้ห้ามใช้แปรงสีฟันขนแข็งและห้ามใช้ยาสีฟันในการทำความสะอาดฟันปลอมนะคะ เพราะสองสิ่งนี้จะทำให้ฟันปลอมสึกหรือมีรอยขูดขีดง่ายขึ้น ซึ่งจะลดอายุการใช้งานของฟันปลอมให้สั้นลงค่ะ
Q&A คำถามที่พบบ่อย
ใส่ฟันปลอม รู้สึกยังไง
หลังจากใส่ฟันปลอมในช่วงแรก คนไข้อาจรู้สึกไม่สบายช่องปากขณะรับประทานอาหาร หรือขณะพูดคุย รู้สึกพูดไม่ชัด ทานข้าวไม่ค่อยถนัด แต่หลังจากผ่านไปประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ ร่างกายจะปรับตัวและรู้สึกคุ้นชินไปเองค่ะ
เลือกฟันปลอมแบบไหนดี
กรณีที่คนไข้ใส่ฟันปลอมเพียงไม่กี่ซี่ หมอณัฐแนะนำให้เลือกฟันปลอมชนิดถอดได้บางส่วนหรือทำฟันปลอมฐานยืดหยุ่นซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานมากขึ้นค่ะ แต่หากคนไข้เหลือฟันในช่องปากเพียงไม่กี่ซี่และฟันที่เหลืออยู่ไม่แข็งแรง แนะนำให้ถอนฟันออกและใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั่วทั้งปาก หรืออาจใช้ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากแบบยึดอยู่บนรากฟันเทียมค่ะ
ไม่ใส่ฟันปลอมได้ไหม
การไม่ใส่ฟันปลอมอาจเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพช่องปากต่าง ๆ หากเป็นฟันหน้า จะทำให้บุคลิกภาพเสีย ลดความมั่นใจเวลายิ้มหรือพูดคุย ส่วนการออกเสียงคำบางคำอาจไม่ชัดเท่าที่ควร ส่วนฟันหลังจะทำให้ไม่มีฟันสำหรับบดเคี้ยวอาหาร อาจทำให้เกิดการเคี้ยวข้าวข้างเดียว ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานหนักขึ้น อีกทั้งมีปัญหาข้อต่อขากรรไกรในอนาคต นอกจากนี้ยังทำให้ฟันซี่ข้าง ๆ ล้มเอียงและสร้างความยุ่งยากหากต้องการใส่ฟันทดแทนในอนาคต
ฟันปลอมอยู่ได้นานเท่าใด
ขึ้นอยู่กับความเปลี่ยนแปลงในช่องปากของคนไข้ เนื่องจากช่องปากของคนเราจะเปลี่ยนแปลงไปในทุก ๆ ปี ดังนั้นคนไข้ควรพบคุณหมอเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 – 2 ครั้งเพื่อตรวจเช็กฟันปลอมอยู่เสมอ
ฟันปลอมหลวมไป ทำอย่างไรดี
สำหรับอาการฟันปลอมหลวมเกินไปเกิดจากกระดูกหดตัวลง หากรู้สึกว่าฟันปลอมหลวมเกินไปแนะนำให้รีบพบคุณหมอเพื่อแก้ไข และใช้กาวติดฟันปลอมจะดีที่สุดค่ะ เพราะหากปล่อยไว้อาจทำให้ฟันปลอมใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ นอกจากจะทำให้อายุการใช้งานสั้นลงแล้ว ยังสร้างความลำบากในการใช้ชีวิตอีกด้วยนะคะ
ทำฟันปลอมที่ไหนดี
หากคุณมีปัญหาช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นฟันซ้อนฟันเก ฟันห่าง ฟันสบผิดปกติ เรา Tooth Luck Detal Clinic เป็นคลินิกทันตกรรมสำหรับเด็กและทุกคนในครอบครัว เรามีทีมทันตแพทย์พร้อมให้บริการทันตกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นจัดฟัน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด ฟอกสีฟัน ขูดหินปูน อุดฟัน รักษารากฟัน รากฟันเทียม วีเนียร์ ฟันปลอม และบริการทันตกรรมสำหรับเด็ก มาพร้อมเครื่องมือที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน และครบครัน ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก ๆ และชาวจังหวัดขอนแก่นอย่างแท้จริง
รีวิวจัดฟันใส Invisalign กับ Tooth Luck dental clinic คลินิกทำฟัน จัดฟัน ขอนแก่น
บทความที่น่าสนใจ
- ฟันหัก ซ่อมได้ไหม ดูแลอย่างไรให้ฟันกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง
- อย่าปล่อยให้ฟันผุทะลุโพรงประสาท ทำร้ายสุขภาพช่องปากในระยะยาว
- เปลี่ยนฟันเสียเป็นฟันสวย ด้วยการครอบฟันจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ฟันล่างคร่อมฟันบน ไม่ผ่าตัดได้ไหม ใช้เวลาจัดฟันกี่ปี
ฟันล่างคร่อมฟันบนถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาช่องปากที่พบได้บ่อย นอกจากจะมีผลต่อความมั่นใจที่ลดลงเวลาพูดคุยหรือยิ้มแล้ว [...]
ฟันสบเปิดคืออะไร อันตรายไหม ทำไมถึงสร้างความยุ่งยากในระยะยาว
หนึ่งในปัญหาที่ทำให้ใครหลายคนใช้ชีวิตลำบากมากขึ้น อีกทั้งมีผลต่อความมั่นใจที่ลดลงเวลายิ้มหรือพูดคุยกับผู้อื่น [...]
ฟันสบลึกคืออะไร มีผลอย่างไรต่อฟัน ทำไมต้องรีบรักษาโดยด่วน
โดยทั่วไปแล้วฟันของคนเราจะสบอยู่ประมาณ 1-2 [...]
กระดูกฟันละลายเกิดจากอะไร ทำไมต้องรีบแก้หากจะทำรากฟันเทียม
กระดูกฟันละลายมักพบได้บ่อยในผู้ที่สูญเสียฟันหรือมีปัญหาด้านสุขภาพช่องปาก ที่ไม่ได้รับรักษาอย่างทันท่วงที [...]
ปัญหาหลังใส่รากฟันเทียมที่คุณไม่ควรละเลย เพื่อช่องปากที่ดี
หลังจากการใส่รากฟันเทียมไปได้สักพัก ก็อาจเกิดปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนบางอย่างที่ทำให้คุณใช้ชีวิตประจำวันได้ลำบากขึ้น [...]
รากฟันเทียมอักเสบเกิดจากอะไร ทำไมกินยาแล้วไม่หายสักที
หลายคนที่กำลังประสบปัญหารากฟันเทียมอักเสบอาจใช้วิธีการรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการ แต่ในความเป็นจริงแล้วการทานยาไม่ได้ช่วยรักษาที่ต้นเหตุแต่อย่างใด [...]