แม้วาฟันแท้จะเป็นฟันที่แข็งแรงกว่าฟันน้ำนม มีโอกาสโยกหรือหลุดยากกว่า แต่ในตอนนี้อาจมีอีกหลายคนที่มีภาวะฟันแท้โยกและอยากรู้ว่า ภาวะดังกล่าวเกิดจากอะไร จะลองดึงออกเองได้ไหม หรือจำเป็นต้องถอนฟันออกเท่านั้น แล้วมีวิธีป้องกันไม่ให้ฟันโยกได้อย่างไรบ้าง หมอณัฐจะมาเล่าให้ฟังค่ะ
ฟันแท้โยกเกิดจากอะไร
โดยทั่วไปแล้วฟันโยกมักเกิดขึ้นกับเด็กที่มีฟันน้ำนมและกำลังจะมีฟันแท้งอกขึ้นมาแทนที่ แต่หากเป็นฟันโยกในฟันแท้จะเป็นภาวะที่ฟันแท้เริ่มโยกไปข้างหน้าทีละน้อย แม้ว่าฟันแท้จะเป็นฟันที่แข็งแรงและหลุดยากมากกว่าฟันน้ำนม สำหรับสาเหตุที่ทำให้ฟันโยกเกิดจากปัญหาสุขภาพช่องปากอย่างคราบหินปูนที่เกิดจากการสะสมของเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟันทำปฏิกิริยากับแบคทีเรียในช่องปากจนกลายเป็นคราบพลัค (Plaque) ก่อให้เกิดการระคายเคืองภายในช่องปากและตามมาด้วยปัญหาสุขภาพช่องปากมากมาย เช่น ฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ ฯลฯ ส่งผลให้กระดูกหุ้มรากฟันละลายและฟันโยกในที่สุด
นอกจากนี้ยังเกิดจากฟันถูกกระแทกอย่างรุนแรงจากอุบัติเหตุ, กรรมพันธุ์จากคนในครอบครัวที่มีประวัติป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน ส่งผลให้กระดูกฟันเสื่อมไวง่ายกว่าคนอื่น, ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในเพศหญิงลดลงเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน, ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) และเอสโตรเจนสูงขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลให้เอ็นยึดปริทันต์และกระดูกรอบฟันอ่อนแอลง (ก่อให้เกิดภาวะฟันโยกชั่วคราวเท่านั้น) รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยงที่ใครหลายคนอาจกำลังทำอยู่เป็นประจำ ได้แก่ การกัดฟันแสดงอารมณ์, กัดฟันขณะนอนโดยไม่รู้ตัวเป็นเวลานาน, รับประทานอาหารที่แข็งหรือเหนียว, ใช้ฟันเปิดฝา รวมไปถึงการสูบบุหรี่ที่มีสารนิโคตินที่กระตุ้นให้เกิดคราบพลัคง่ายขึ้นอีกด้วยค่ะ
ฟันแท้โยก ดึงออกเองได้ไหม
ไม่ได้เด็ดขาดค่ะ เพราะคนไข้ไม่มีทางรู้เลยว่าฟันโยกเกิดจากสาเหตุใด หากดึงออกเองอาจเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บที่รุนแรง เสี่ยงติดเชื้อ และอาจทำให้ปัญหาช่องปากที่เป็นอยู่รุนแรงมากกว่าเดิม ทางที่ดีควรรีบมาพบคุณหมอฟันเพื่อให้คุณหมอตรวจเช็กและรักษาจะดีที่สุดค่ะ
ฟันแท้โยก รักษาได้ไหม หรือต้องถอนออกอย่างเดียว
ขึ้นอยู่กับสาเหตุค่ะ หากเป็นฟันโยกในระยะเริ่มต้น ก็สามารถรักษาและเก็บฟันเอาไว้ใช้งานต่อได้ แต่หากฟันโยกเกิดจากปัญหาฟันผุเรื้อรังหรือโรคปริทันต์อักเสบ ไม่สามารถรักษาฟันซี่นั้นได้แล้ว คุณหมอจะถอนฟันซี่นั้นออกเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปยังฟันซี่ข้างเคียงค่ะ
รักษาฟันโยกได้ด้วยวิธีไหนบ้าง
1. ใช้ยางกัดขณะนอนหลับ
สำหรับวิธีนี้จะเหมาะกับคนไข้ที่มีปัญหานอนกัดฟันหรือกัดฟันแสดงอารมณ์เท่านั้นนะคะ โดยคุณหมอจะให้คนไข้ใส่เฝือกสบฟัน (Occlusal Splint) ที่นอกจากจะช่วยกระจายแรงสบฟันในช่องปาก ป้องกันฟันสึกในคนไข้ที่นอนกัดฟันแล้ว ยังช่วยบรรเทาอาการบาดเจ็บของข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยวได้อีกด้วยค่ะ ในช่วงแรกของการใส่เฝือกสบฟัน คนไข้อาจรู้สึกตึง ๆ บริเวณฟันประมาณ 2 – 3 นาที, น้ำลายไหลบ่อยกว่าปกติ, รู้สึกว่าการสบฟันไม่เหมือนเดิม แต่หากร่างกายคุ้นชินแล้วอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ หายไปเองค่ะ
2. ขูดหินปูนและเกลารากฟัน
วิธีนี้เหมาะกับคนไข้ที่มีฟันโยกจากโรคเหงือกอักเสบนะคะ โดยคุณหมอจะขูดหินปูนเพื่อเอาคราบพลัคออกก่อนค่ะ จากนั้นจึงทำการเกลารากฟันด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ ซึ่งจะช่วยทำความสะอาดและกำจัดหินปูนที่ลงลึกไปถึงรากฟันที่อยู่ภายในเหงือก แม้ว่าจะเป็นขั้นตอนที่เจ็บแต่คุณหมอจะฉีดยาชาให้คนไข้ทุกครั้งที่ทำการรักษาค่ะ นอกจากจะช่วยรักษาเหงือกอักเสบแล้ว ยังช่วยรักษาเอ็นยึดปริทันต์, เคลือบรากฟัน, และกระดูกเบ้าฟันอีกด้วยค่ะ ช่วยให้รากฟันแข็งแรง ฟันไม่โยกอีกต่อไปค่ะ
3. ติดฟันปลอม
หากพบว่าคนไข้มีฟันโยกอย่างรุนแรงมาจากหากฟันผุทะลุโพรงประสาท หรือมีพื้นที่เนื้อฟันน้อย ไม่เพียงพอต่อการครอบฟัน หรือฟันซี่นั้นเป็นโรคเหงือกขั้นรุนแรง คุณหมอจะถอนฟันซี่นั้นออกแล้วฝังรากฟันเทียมหรือทำสะพานฟันเพื่อวางแทนที่ฟันซี่ที่หลุดออกและยึดฟันซี่ข้าง ๆ ไว้ป้องกันฟันล้มในอนาคตค่ะ
ป้องกันฟันโยกได้ง่าย ๆ ด้วยการ
- ทำความสะอาดช่องปากวันละ 2 ครั้ง (เช้าและก่อนนอน) หากเป็นไปได้แนะนำให้ทำความสะอาดทุกครั้งหลังมื้ออาหารอย่างน้อย 30 นาที เพื่อกำจัดเศษอาหารภายในช่องปากให้หมด ป้องกันการเกิดคราบพลัค
- ใช้ไหมขัดฟันและน้ำยาบ้วนปากควบคู่กับการแปรงฟันทุกครั้ง
- ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อชะล้างเศษอาหารที่ตกค้างอยู่ในช่องปากและลดปริมาณแบคทีเรียในช่องปากให้น้อยลง
- รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและแป้งอย่างพอดี เน้นผักและผลไม้ที่มีเส้นใยช่วยกำจัดเศษอาหารออกจากซอกฟันและทำความสะอาดแบคทีเรียออกจากผิวฟัน
- รับประทานอาหารที่ไม่เหนียวหรือแข็งเกินไปเพื่อลดภาระให้กับฟัน หากต้องการรับประทานอาหารชิ้นใหญ่ ให้หั่นอาหารออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ นอกจากจะลดภาระให้ฟันแล้วยังช่วยให้กระเพาะอาหารย่อยอาหารง่ายขึ้นด้วย
- กรณีที่เป็นนักกีฬาหรือเป็นผู้ที่ทำกิจกรรมเสี่ยงต่อการปะทะบ่อย ๆ แนะนำให้ใส่ฟันยาง (Mouth Guard) ด้วยเสมอ
- พบคุณหมอฟันเป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อตรวจเช็คสุขภาพฟันอยู่เสมอ
- หากพบปัญหาฟัน ให้รีบพบคุณหมอทันที ไม่ควรปล่อยไว้นานเพราะปัญหาอาจรุนแรงยิ่งขึ้น
- งดพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้ฟันโยก เช่น เอาลิ้นดุนฟัน ใช้ฟันเปิดขวด กัดฟันแสดงอารมณ์
บทความที่น่าสนใจ
- ทำรากเทียมฟันหน้า ดีไหม มีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้าง
- ฝังรากเทียม ทำไมต้องปลูกกระดูกฟัน มีผลข้างเคียงบ้างไหม
- ฟันล้มหลังจัดฟันเกิดจากอะไร ทำไมต้องใส่รีเทนเนอร์ตลอดเวลา
ถอนฟันที่ไหนดี ทำไมต้อง Toothluck Dental Clinic
หากคุณมีปัญหาช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นฟันซ้อนฟันเก ฟันห่าง ฟันสบผิดปกติ หรือกำลังมองหาคลินิกสำหรับดูแลฟัน เรา Tooth Luck Detal Clinic เป็นคลินิกทันตกรรมสำหรับเด็กและทุกคนในครอบครัว เรามีทีมทันตแพทย์พร้อมให้บริการทันตกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นจัดฟัน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด ฟอกสีฟัน ขูดหินปูน อุดฟัน รักษารากฟัน รากฟันเทียม วีเนียร์ ฟันปลอม และบริการทันตกรรมสำหรับเด็ก มาพร้อมเครื่องมือที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน และครบครัน ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก ๆ และชาวจังหวัดขอนแก่นอย่างแท้จริง
รีวิวจัดฟันกับ Tooth Luck dental clinic คลินิกทำฟัน จัดฟัน ขอนแก่น
อุดฟันหน้าเจ็บมั้ย อยู่ได้นานแค่ไหน ดูแลอย่างไรให้ฟันแข็งแรง
แม้ว่าฟันจะขึ้นชื่อในเรื่องของความแข็งแรง หากดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสมก็อาจทำให้ฟันอยู่คู่กับช่องปากของเราไปได้ตลอดชีวิตเลยทีเดียว [...]
จัดฟันซ้อนเก มีเขี้ยว ใช้เวลานานไหม จัดฟันแบบไหนช่วยได้บ้าง
ฟันซ้อนเก มีเขี้ยว [...]
ปักหมุดจัดฟันคืออะไร เจ็บไหม เหมาะกับปัญหาฟันแบบไหน
จริงอยู่ที่การจัดฟันจะเน้นการใช้เครื่องมือจัดฟันเป็นหลัก แต่หากคนไข้มีปัญหาฟันเรียงตัวผิดปกติบางประเภทก็อาจจำเป็นต้องใช้หมุดจัดฟันเข้าร่วมด้วย [...]
รากฟันเทียมหลุด เกิดจากอะไร มีวิธีดูแลและป้องกันอย่างไร
แม้ว่าคุณจะเคยผ่านการทำรากฟันเทียมมาแล้ว แต่หากวันนึงรากฟันเทียมเกิดหลุดขึ้นมาก็อาจทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจเป็นอย่างมาก [...]
ขี้ผึ้งจัดฟัน คืออะไร ทำไมคนจัดฟันต้องพกติดตัวไว้
เมื่อเริ่มจัดฟันแล้วคุณหมอจะให้ขี้ผึ้งจัดฟันเอาไว้ทาบนเครื่องมือจัดฟัน ว่าแต่ทำไมต้องเป็นขี้ผึ้งด้วย [...]
จัดฟันเหงือกบวม หายเองได้หรือไม่ แก้ยังไงดี
แม้ว่าการจัดฟันจะช่วยแก้ปัญหาฟันเรียงไม่เป็นระเบียบที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพฟันตามมาได้ แต่ในช่วงระหว่างการจัดฟันนั้นคนไข้อาจต้องรับมือกับความผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นภายในปาก [...]